ความสัมพันธ์ของความมีชื่อเสียงของอาคารชุด ตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท กับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศศิมาภรณ์ วังศิลาบัตร สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความมีชื่อเสียงของตราสินค้า, กระบวนการตัดสินใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ ความมีชื่อเสียงของอาคารชุดกระบวนการตัดสินใจซื้ออาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (หมอชิต-แบริ่ง) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมีชื่อเสียงกับกระบวนการตัดสินใจซื้ออาคารชุดของผู้บริโภค โดยใช้วิธีวิจัยแบบสํารวจ เชิงปริมาณ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้ออาคารชุดบริเวณแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท (หมอชิต-แบริ่ง) ในรัศมีไม่เกิน 2 กิโลเมตร จากสถานี ราคาเริ่มต้นไม่เกิน 5 ล้านบาท และพัก อาศัยเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี จํานวน 400 คน เก็บข้อมูลวิจัยด้วยแบบสอบถามโดยวัดความคิดเห็น และทัศนคติ คําตอบไม่มีถูกไม่มีผิด ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ สรุปได้ว่า ผู้ที่ตัดสินใจ ซื้ออาคารชุดส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีช่วงอายุอยู่ที่ 25-29 ปี มีสถานภาพโสด สําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และมีรายได้ต่อเดือนในช่วง 35,001-45,000 บาท และความมีชื่อเสียงของอาคารชุดกับ กระบวนการตัดสินใจซื้อมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (เชิงบวก) ในทุกด้าน

References

กองยุทธศาสตร์บริการจัดการ. (2560). แนวโน้มประชากร. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ.

รัฐวัฒน์ คูวิจิตรสุวรรณ. (2561). Bangkok Condo Research. กรุงเทพฯ: CBRE Thailand.

ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย. (2560). Bangkok Housing Markets Outlook. กรุงเทพฯ: บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จํากัด.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2560). สรุปภาพรวมตลาดอาคารชุดปี 2559 และแนวโน้มสถานการณ์อาคาร ชุดใหม่ปี 2560. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2561. สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล, 27(1), 11-12.

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสําหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

CBRE Research and Land Department. (2018). Existing Downtown Supply. Bangkok: CBRE Research and Land Department.

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Pallant, J. (2007). SPSS Survival Manual: A Step Guide to Data Analysis Using SPSS for Windows (3rd ed.). Berkshire, United Kingdom: Maidenhead Open University Press.

Schiffman, L., Bednall, D., O’ Cass, A., Paladino, A., Ward, S., and Kanuk, L. (2008). Consumer Behaviour (4th ed.). Melbourne: Pearson Education Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29