ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์, รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องกันระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ กลุ่มคนในเขตฝั่งธนบุรีที่คาดว่าจะซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใน 1 ปีข้างหน้า ดำเนินการเก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่ำกว่า 15,001 บาท ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างเลือกซื้อรถยนต์ยี่ห้อ Toyota สูงที่สุด คำนึงถึงเรื่องการประหยัดน้ำมันมากที่สุด ส่วนใหญ่ต้องการรถยนต์ที่ราคาต่ำกว่า 600,000 และจำนวนมากใช้เวลาในการตัดสินใจภายใน 3 เดือน ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมในการซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี แต่อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่าปัจจัยเพศมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตฝั่งธนบุรี
References
กรมการขนส่งทางบก. (2564). แผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก (2561-2563). กรุงเทพมหานคร: กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก.
เกศสุดา เพชรดี และ ศิริมา ตันติธำรงวุฒิ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(2), 77-86.
คัทลียา ฤกษ์พิไชย. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานไฮบริดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทะนงศักดิ์ ปิ่นเกล้า อรุณรุ่ง วงศ์กังวาน บัณฑิต ผังนิรันดร์ และณัฐพงษ์ เตชะรัตนเสฏฐ์. (2562). ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาด และความไว้วางใจของธุรกิจนำเที่ยวที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศ. สยามวิชาการ, 20(1), 49-63.
Bozhkov, S. (2021). Structure of the Model of Hybrid Electric Vehicle Energy Efficiency. Journal of Trans Motauto World, 6, 76-79.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. Hoboken, NJ: John Wiley and Sons.
Chhabra, D. (2018). Factors Affecting Consumer Buying Behavior and Decision-Making Process Towards Cars. Journal of Advances and Scholarly Researches in Allied Education, 15(6), 131-139.
Croson, R. and Gneezy, U. (2009). Gender Differences in Preferences. Journal of Economic Literature, 47(2), 448-474.
Dholakia, U.M. and Talukdar, D. (2004), How Social Influence Affects Consumption Trends in Emerging Markets: An Empirical Investigation of the Consumption Convergence Hypothesis. Psychology and Marketing, 21(10), 775-797.
Hansen, T. (2005). Perspectives on Consumer Decision Making: an Integrated Approach. Journal of Consumer Behavior, 4(6), 420-437.
Kumar, S.P. (2014). Impact of Educational Qualification of Consumers on Information Search: A Study With Reference To Car. International Journal on Global Business Management and Research, 2(2), 39-47.
Noblet, C.L., Teisl, M.F., and Rubin, J. (2006). Factors Affecting Consumer Assessment of Eco-labeled Vehicles. Transportation Research Part D: Transport and Environment, 11(6), 422-431.
Rani, P. (2014). Factors Influencing Consumer Behavior. International Journal of Current Research and Academic Review, 2(9), 52-61.
Sujan, M. (1985). Consumer Knowledge: Effects on Evaluation Strategies Mediating Consumer Judgments. Journal of Consumer Research, 12, 31-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยสยาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้เขียนบทความ และผู้นำส่งบทความ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ สิทธิ์แห่งความเป็นเจ้าของบทความ สิทธิ์แห่งการได้มาซึ่งบทความ สิทธิ์ของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในบทความ สิทธิ์ของการใช้เครื่องมือเพื่อการประมวลผล หรือสิทธิ์อื่นใดอันเกี่ยวข้องกับบทความ วารสาร “วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้นำบทความออกเผยแพร่โดยสุจริตเท่านั้น สิทธิ์ทั้งปวงอันเกี่ยวข้องกับบทความยังเป็นของเจ้าของสิทธิ์อยู่ สิทธิ์นั้นไม่ได้ถูกถ่ายโอนมาเป็นของวารสารฯ แต่อย่างใด
ข้อความที่ปรากฏอยู่ในบทความนั้น ถือเป็นทัศนะอิสระของผู้เขียน โดยผู้เขียนแต่ละท่านให้การรับรองว่าบทความของตนมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นของผู้อื่น วารสารฯ และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ เป็นแต่เพียงผู้ให้ความเห็นเรื่องคุณภาพของเนื้อหา และความเหมาะสมของรูปแบบการนำเสนอเท่านั้น วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม และ ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ ไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อข้อความใดๆ อันเกิดจากทัศนะ และสิทธิ์ในการตีพิมพ์และเผยแพร่ของผู้เขียน