การพัฒนาการจัดการความรู้สู่การเป็นท่าเรือระดับโลก

ผู้แต่ง

  • จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ท่าเรือระดับโลก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของท่าเรือระดับโลก 2) เพื่อวิเคราะห์ SWOT ของท่าเรือต้นแบบที่เป็นท่าเรือระดับโลก 3) เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้สู่การเป็นท่าเรือระดับโลก โดยมีประชากร คือ ผู้มีเกี่ยวข้องกับกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มลูกค้า กลุ่มคู่ค้า กลุ่มสมาคม และกลุ่มหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง วิธีการวิจัยใช้วิธีการเชิงเอกสาร คือ งานวิจัย วารสารทางวิชาการ หนังสือและบทความวิเคราะห์ต่าง ๆ และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก 4 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลในวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. องค์ประกอบของท่าเรือระดับโลก ประกอบด้วย ท่าเรืออัจฉริยะ ท่าเรือสีเขียว ท่าเรือปลอดภัยและท่าเรือเครือข่าย
  2. การวิเคราะห์ SWOT ของท่าเรือต้นแบบที่เป็นท่าเรือระดับโลกทั้ง 3 ท่าเรือ ประกอบด้วย ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ มีจุดเด่น ด้านนวัตกรรม บุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน ท่าเรือสิงคโปร์ มีจุดเด่น ด้านท่าเรือปลอดภาษี ทำเลที่ตั้งและมีสถาบันทางทะเลของสิงคโปร์ และท่าเรือปูซาน มีจุดเด่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากรและมีสถาบันทางทะเลของเกาหลีใต้
  3. การจัดการความรู้สู่การเป็นท่าเรือระดับโลก ได้แก่ เทคโนโลยีอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะพลังงานสะอาด การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ระบบการป้องกันความปลอดภัยและอุบัติเหตุ การสร้างเครือข่ายและการบริหารลูกค้า

References

กิตติศักดิ์ มัฆวาล. (2565). ตัวชี้วัดท่าเรืออัจฉริยะของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภาคภูมิ มงคลสังข์ ไตรทศ ขำสุวรรณ จิรวิท พึ่งน้อย และสมภพ พึ่งเสมา. (2564). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างเพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือ. Rattanakosin Journal of Science and Technology, 3(2), 45-55.

สุมาลี สุขดานนท์. (2559). รอบรู้ท่าเรือรอบโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Akhavan, P., Elahi, B., and Jafari, M. (2014). A New Integrated Knowledge Model in Supplier Selection: The Case of an Asian Automotive Supply Chain. Education, Business and Society Contemporary Middle Eastern Issues, 7(4), 333-368.

China Merchants Port. (2021). Innovation prospers Sustainability for IAPH Sustainability Port Project Award, March 2021. Hong Kong: China Merchants Port.

Dalaklis, D., Christodoulou, A., Ölcer, A., Ballini, F., Dalaklis, A., and Lagdami, K. (2022). The Port of Gothenburg Under the Influence of the Fourth Stage of the Industrial Revolution: Implementing a Wide Portfolio of Digital Tools to Optimize the Conduct of Operations. Maritime Technology and Research, 4(3): 253844, 1-18.

Korea Maritime Institute. (2022). KMI, Annual Report 2021. Busan: KMI.

Marine insight. (2022). Top 10 Biggest Ports in the World in 2022. Bangalore: Marine Insight.

Mwin’jaka, A.I. (2013). Strategies Adopted by Kenya Ports Authority in Its Quest to Be a World Class Sea Port of Choice. Doctoral Dissertation, University of Nairobi.

Scheuing, E.E. (2004). Delivering World-Class Service. New York: St. John's University.

Singapore Maritime Institute. (2022). Singapore Maritime Institute: Roles and Responsibilities. Singapore: Singapore Maritime Institute.

Sungkaew, B., Kanjanawong, D., and Dongjit, J. (2021). A Guideline for the Environmentally Friendly Port Management and the Artisanal Fisheries Community Rights in the Eastern Economic Corridor Project: A Case Study of Chonburi Province. King Prajadhipok’s Institute Journal, 19(3), 154-180.

Svendsen, K. (2021). What does it mean to be a world-class terminal operator? Retrieved January 18, 2023, from https://www.hellenicshippingnews.com/what-does-it-mean-to-be-a-world-class-terminal-operator-by-coo-keith-svendsen/

UNCTAD. (1985). Port Development (2nd ed.). New York: United Nation.

________ . (2021). Review of Maritime Transport. Geneva: UNCTAD.

Wheatcroft, P. (2007). World Class IT Service Delivery. London: BCS.

World Economic Forum. (2022). Global Economic Perspectives. Cologny: WEF.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06