คุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • อภิสรา ทับสุวรรณ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • อำพล นววงศ์เสถียร มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • ปฏิมา รุ่งเรือง มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • ภัทรดา รุ่งเรือง มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • ญาณวัฒน์ พลอยเทศ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การปรับตัวของผู้สูงอายุ, การพัฒนาศักยภาพในการทำงาน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต การปรับตัวและการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต  2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต ตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณภาพชีวิตและการปรับตัวที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพักอาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 385 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามโดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F-test พร้อมด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง มีการปรับตัวอยู่ในระดับมาก การพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก  2) ผู้สูงอายุที่มีเพศ สถานภาพ ลักษณะครอบครัว รายได้ต่อเดือน และการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 3) คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาอาศัย มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). สถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ธันวาคม 2565. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.

ณัฐสุดา แสงบุญ และคณะ. (2562). การปรับตัวของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ The 4th International Conference on Prevention and Management of Chronic Condition: Innovations in Nursing Practice, Education, and Research จัดโดย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ.

นัสมล บุตรวิเศษ และ อุปริฏฐา อินทรสาด. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา.

พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร และ ธัญญลักษณ์ เอนกจำนงค์พร. (2563). แรงงานผู้สูงอายุ: โอกาสและความ ท้าทายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจการบริการ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 216-229.

ไพลิน จินดามณีพร. (2561). แนวทางการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในสถานประกอบการ. รายงานการวิจัย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60.

ลลดา ลวนะลาภานนท์. (2558). คุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในตำบลคลองรึ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วรรนารักข์ วงษ์ศุภลักษณ์. (2552). การปรับตัวของผู้สูงอายุพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานสถิติ จังหวัดภูเก็ต. (2562). สถิติผู้สูงอายุ. ภูเก็ต: สำนักงานสถิติ จังหวัดภูเก็ต.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง. นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สิรินดา กมลเขต. (2558). สภาพการปรับตัวและแนวทางการบริหารจัดการผู้สูงอายุในการใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน: กรณีศึกษาอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 4(1), 159-173.

สุเนตร สุวรรณละออง. (2560). ความต้องการพัฒนาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. รายงานการวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรรฆพร ก๊กค้างพลู. (2564). คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(43), 226-244.

Roy, S.C. and Andrews, H.A. (1991). The Roy Adaptation Model: The Definitive Statement. Norwalk: Appleton and Lange.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

World Health Organization. (1997). Life Skill Education in Schools. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06