การศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนในการขึ้นไปสู่ทีมสโมสรกีฬาฟุตบอลระยอง เอฟซี

ผู้แต่ง

  • คมสัน เชื้อคำเพ็ง วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจัดการ, นักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน, สโมสรระยอง เอฟซี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและแนวทางในการส่งเสริมนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนให้ขึ้นไปสู่ทีมสโมสรกีฬาฟุตบอลระยอง เอฟซี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาคือ ผู้จัดการทีม หัวหน้าผู้ฝึกสอนผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้ฝึกสอนรุ่นอายุ 18 ปี ผู้ฝึกสอนรุ่นอายุ 16 ปี และนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน รวมทั้งสิ้น 10 คน

พบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนในการขึ้นไปสู่ทีมสโมสรกีฬาฟุตบอลระยอง เอฟซี คือปัจจัยหลัก 4 ด้านได้แก่

1) ด้านกลยุทธ์การบริหารและความโปร่งใส

2) ด้านกลยุทธ์พัฒนาเทคนิค
3) ด้านกลยุทธ์คุณภาพและเป้าหมายการแข่งขัน และ

4) ด้านกลยุทธ์การตลาดและศรัทธามหาชน และมีแนวทางในการส่งเสริมนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน ได้แก่ การพัฒนาทางด้านร่างกาย การดูแลเรื่องอาหารตามหลักโภชนาการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ส่วนในเรื่องของแผนการเล่นผู้ฝึกสอนมีความยืดหยุ่นกับแผนการเล่น เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสนามแข่งขัน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การพัฒนาของ Thailand’s Way 

References

ชมรมเชียร์ไทย พาวเวอร์. (2556). แผนฟื้นฟูฟุตบอลแห่งชาติ 2556-2565. กรุงเทพฯ: ชมรมเชียร์ไทย พาวเวอร์.

เทอดทูล โตคีรี ปัญญา สังขวดี และทวีทรัพย์ เขยผักแว่น. (2560). รูปแบบการพัฒนาศูนย์ฝึกนักกีฬาฟุตบอลเยาวชนของสโมสรฟุตบอลอาชีพ. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส), 23(1), 85-98.

วิษณุ คชรัตน์. (2564). แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง ชาญเดช เจริญวิริยะกุล ดาเกิง อัศวสุนทรางกูร และตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง. (2561). ปัจจัยเกื้อหนุนที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการพัฒนาฟุตบอลเยาวชนเพื่อการอาชีพ. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(พิเศษ), 1-14.

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). การสร้างอะคาเดมี. กรุงเทพฯ: สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

อรุษ เส็นบัตร และ นักรบ ระวังการณ์. (2563). การทำการตลาดที่ดีคือ การประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการกีฬา, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อิษฎี กุฏอินทร์. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศในการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี ค.ศ. 2026. วารสาร Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (ฉบับภาษาไทย), 11(3), 220-237.

Football Tribe Thailand. (2561). รู้จักกับ Elefant Elf: พื้นฐาน 11 ข้อสู่ Thailand’s Way. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2565, จาก https://football-tribe.com/thailand/2018/02/20/thailand-way

Premier League. (2011). Elite Player Performance Plan. London: Premier League.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-09