การพัฒนาหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • จิตระวี ทองเถา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • รุ่งโรจน์ สงสระบุญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • บุศรา นิยมเวช คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปทิตตา โอภาสพงษ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เอกภพ มณีนารถ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

หลักสูตร, การเป็นผู้ประกอบการ, ผู้สูงอายุ, บัณฑิตพันธุ์ใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มุ่งพัฒนาหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหาจากความคิดเห็นจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่

1) กลุ่มผู้ประกอบการผู้สูงอายุ

2) กลุ่มผู้บริหารระดับสูงในสถานประกอบการ และ

3) กลุ่มผู้บริหารระดับกลางในสถานประกอบการ รวม 15 คน

โดยใช้เครื่องมือ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล ควรประกอบด้วย

1) การสร้างนวัตกรรม

2) การเขียนแผนธุรกิจ

3) การกำหนดกลยุทธ์

4) การพัฒนาผลิตภัณฑ์

5) การตลาดออนไลน์

6) การสื่อสารการตลาด

7) การวิเคราะห์ปัญหา และ

8) ระบบอีคอมเมิร์ซ

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สหประชาชาติ ในประเทศไทย. (2565). ผู้สูงอายุ. กรุงทพฯ: สหประชาชาติ ในประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Bellanca, J. and Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, Indiana: Solution Tree Press.

Bygrave, W.D. (1989). The Entrepreneurship Paradigm (I): A Philosophical Look at Its

Research Methodologies. Entrepreneurship Theory and Practice, 14(1), 7-26.

Charmaz, K. (2006). Constructing Grounded Theory. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Frese, M. (2000). Psychological Success Factors of Entrepreneurship in Owners in Africa. California: Greenwood Publishing.

McClelland, D.C. (1973). Testing for Competence Rather Than for Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Rissal, R. (1988). A Study of the Characteristics of Entrepreneur in Indonesia. Doctoral Dissertation, George Washington University.

Sawangvoranard K. and Cruthaka C. (2019). The Training Development Curriculum Cognitive Skills for The Elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(1), 207-215.

Susbauer, J.C. (1969). The Technical Company Formation Process: A Particular Aspect of Entrepreneurship. Ph.D. Dissertation, University of Texas at Austin.

Vanitbuncha, K. (2015). Structure Equation Model by AMOS. Bangkok: Chulalongkorn Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-09