ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่โรงเรียนอรรถวิทย์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปฐมาพร พีรวัฒนานนท์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • ปฏิมา รุ่งเรือง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบัญชีและวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • ภูษิตย์ วงษ์เล็ก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • สุทิน โรจน์ประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการ, การตัดสินใจ, โรงเรียนอรรถวิทย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่โรงเรียนอรรถวิทย์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอรรถวิทย์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 210 คน

โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดธุรกิจบริการในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนที่โรงเรียนอรรถวิทย์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กนกวรรณ วิลาวัลย์. (2564). เผย 9 เดือน ร.ร.เอกชนปิดตัวแล้ว 70 แห่ง คาดเทอม 2 เปิดเรียนปกติไม่ได้ ปิดกิจการเพิ่มอีก 100 แห่ง. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/education/news_3003120

กันตรัตน์ สุจิตวนิช และ วัลลภา เฉลิมวงศาเวช. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน A ของผู้ปกครองสำหรับบุตรหลานในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 71-88.

กิตติคุณ ทวนสุวรรณ ปฏิมา ประโยชน์อุดมกิจ และภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัด สุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 3(2), 57-76.

จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร และ วสพร ตันประเสริฐ. (2566). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดและเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกเรียนหลักสูตรมหาบัณฑิต ของนักศึกษาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 12(1), 148-162.

ธธีธ์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2546). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนาธร เพิ่มกำลังทรัพย์ อำพล นววงศ์เสถียร และปฏิมา รุ่งเรือง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 27(2), 16-28.

นิชาภา สมานมิตรมงคล และ ภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2566). กลยุทธ์การตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อเครื่องดื่มจากร้านหนึ่งตะวันคาเฟ่แอนด์โฮมสเตย์ จังหวัดน่าน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจ (NCOBA 2023) วันที่ 31 มีนาคม 2566, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ประยุกต์และระบบสารสนเทศของ 11 มหาวิทยาลัย.

เปรมปภัสร์ เพชรจรัสศรี ภูษิตย์ วงษ์เล็ก ปฏิมา รุ่งเรือง ตรีวิทย์ อัศวศิริศิลป์ และจตุพร สังขวรรณ. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนอรรถวิทย์. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 28(1), 114-123.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2565). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper and Row.

Hinkle, D.E., William, W., and Stephen, G.J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th Global ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Simon, H. (1960). The New Science of Management Decision. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-09