ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ สรแพทย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • กิตติชัย ถาวรธรรมฤทธิ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • สุชาติ ธีระศรีสมบัติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ศิวิไล สายบัวทอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • อิทธิศักดิ์ รัตนกิจยนต์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์, อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ , เงินปันผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับเงินปันผล โดยอัตราส่วนทางการเงิน ประกอบด้วย อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์กับอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ ซึ่งเป็นการทดสอบความสัมพันธ์และความสามารถในการอธิบายเงินปันผลของอัตราส่วนทางการเงิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 65 บริษัท ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินในรอบระยะเวลาบัญชี 2565

ผลการศึกษาพิจารณาจากค่า Sig พบว่า

1) ในภาพรวมของกลุ่มธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มีความสัมพันธ์กับเงินปันผลอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า Sig เท่ากับ 0.079  และ

2) หมวดธุรกิจเกษตร อัตราส่วนทางการเงินสามารถอธิบายเงินปันผล ซึ่งดูจากค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (Adjusted R2) มีค่าเท่ากับ 0.970 หรือร้อยละ 97

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 27).

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ข้อมูลงบการเงินและข้อมูลเกี่ยวกับอัตราส่วนผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นและราคาหลักทรัพย์ สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

เบญจพร โมกขะเวส และ มนัส หัสกุล. (2565). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่ออัตราตอบแทน และอัตรา

การจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(4), 85-94.

สาริยา นวลถวิล. (2562). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มดัชนี S SET. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Atmoko, Y., Defung, F., and Tricahyadinata, I. (2017). Pengaruh Return on Assets, Debt to Equity Ratio, Dan Firm Size Terhadap Dividend Payout Ratio. Kinerja, 14(2), 103-109.

Herawati, A. and Fauzia, F.I. (2018). The Effect of Current Ratio, Debt to Equity Ratio and Return on Asset on Dividend Payout Ratio in Sub-sector Automotive and Component Listed in Indonesia Stock Exchange in Period 2012-2016. Conference Paper in The 2018 International Conference of Organizational Innovation (ICOI-2018), KnE Social Sciences.

Husna, A. and Satria, I. (2019). Effects of Return on Asset, Debt to Asset Ratio, Current Ratio, Firm Size, and Dividend Payout Ratio on Firm Value. International Journal of Economics and Financial Issues, 9(5), 50-54.

Kanakriyah, R. (2020). Dividend Policy and Companies’ Financial Performance. The Journal of

Asian Finance, Economics, and Business (JAFEB), 7(10), 531-541.

Makri, V., Tsagkanos, A., and Bellas, A. (2014). Determinants of Nonperforming Loans: The Case of Eurozone. Panoeconomicus, 2, 193-206.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-09