บูรณาการธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน: เส้นทางตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ บวรกุลภา ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

บูรณาการ, ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน, เส้นทางตลาดน้ำอัมพวา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวตามเส้นทาง ตลาดนน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม การบูรณาการท่องเที่ยวกับธุรกิจชุมชนเพื่อสร้างรายได้และการ พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในตลาดน้ำอัมพวา การวิจัยจึงได้สนใจศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวตลาดนน้ำอัมพวา สินค้าภูมิปัญญาที่จำหน่ายในบริเวณตลาดน้ำ ที่พักโฮมสเตย์ ของเส้นทางตลาดนน้ำอัมพวา ทั้งนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมการมาท่องเที่ยว ความคิดเห็นในแต่ละด้านของธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน เพื่อเป็นแนวทาง ข้อเสนอแนะของการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน การศึกษาครั้งนี้ใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 800 ราย กับนักท่องเที่ยวเส้นทางตลาดนน้ำอัมพวา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการส ารวจพบแนวทางการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว ชุมชนในเส้นทางดังนี้

ด้านสถานที่ในตลาดนน้ำอัมพวา มีข้อเสนอแนะว่าควรมีที่จอดรถเพียงพอและพ่อค้าในพื้นที่ควรมี ความเป็นมิตร อย่างไรก็ตามสินค้าส่วนใหญ่ควรมาจากชุมชนหรือเป็นสินค้าภูมิปัญญาไทย และไม่แพง เกินไป ซึ่งพื้นที่ในบริเวณตลาดนน้ำอัมพวาควรมีการจัดกิจกรรมแสดงสินค้าและบริการระหว่างช่วง เทศกาล และควรรักษาความสะอาดในพื้นที่ตลาดน้ำอัมพวา อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ บรรยากาศดั้งเดิมของตลาดน้ำและควรดูและรักษาการชมหิ่งห้อยในเวลากลางคืน

ด้านสินค้าภูมิปัญญา ควรมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา และพัฒนาบรรจุ ภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและหลายขนาดตามความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยสินค้าควรมีหลายระดับ ราคา และคุ้มค่าเงิน นอกจากนี้ควรรักษาเอกลักษณ์ของสินค้าประเภทหัตถกรรม ของที่ระลึก โดยเฉพาะ สินค้าประเภทอาหารควรสะอาดและมีความเป็นเอกลักษณ์ของรสชาติดั้งเดิมในท้องถิ่น

โฮมสเตย์ควรติดกับริมแม่น้ำ ใกล้กับตลาดน้ำอัมพวา และมีบรรยากาศเป็นธรรมชาติ เจ้าของบ้านควรมีกิจกรรมเรียนรู้วิธีชีวิตชุมชน สำหรับนักท่องเที่ยว และเป็นกันเองกับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ควรรักษามาตรฐานห้องพัก และมาตรฐานราคา ความปลอดภัยและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว และรักษาคุณภาพอาหารที่ดีและเรียนรู้ เพื่อการพูดภาษาอังกฤษพื้นฐาน และการให้บริการ สิ่งสำคัญ ควรรักษารูปแบบโฮมสเตย์ให้เป็นแบบนักท่องเที่ยวอยู่ร่วมกับเจ้าของบ้าน

การบูรณาการ ทั้งสามด้านในการท่องเที่ยวเส้นทางตลาดนน้ำอัมพวา จึงควรส่งเสริมโดยมีสื่อและ การประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการท่องเที่ยวร่วมกัน และรักษาทรัพยากรดั้งเดิมและวัฒนธรรมเพื่อการเกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและกัน ของธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป

References

เทศบาลตำบลอัมพวา. (2555). ประวัติและสภาพทางเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ17 พฤศจิกายน 2555, จาก http://www.amphawa.go.th/index.php?option=com_content&view=category&id=17&I temid=19

รดี ธนารักษ์. (ม.ป.ป.). ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ: ทางเลือกการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ ยั่งยืน.อุตรดิตถ์: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

รัตติยา คีตานนท์. (2549). การเสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดสมุทรสงคราม ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาครัฐและประชาชน. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รำไพพรรณ แก้วสุริยะ. (2547). หลักการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2555,จาก http://lib.dtc.ac.th/article/tourism/0007.pdf

อริสรา เสยานนท์. (2552). การป้องกันการเสื่อมโทรมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของตลาดน้ำอัมพวา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4), 163- 172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17