การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวตามกฎบัตรสหประชาชาติในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 3 จังหวัด (จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม)

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ มณีกาศ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ
  • ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ
  • วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ ภาควิชารัฐศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรลัญช์ โรจนพล สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว, พื้นที่ชายฝั่งทะเล 3 จังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Research Method) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของ รัฐในด้านแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว สิทธิมนุษยชน กฎ บัตรสหประชาชาติ อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และศึกษาผลกระทบและคุณภาพชีวิต ของแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายฝั่งทะเล เพื่อนนำเสนอแนวทางการนำไปปฏิบัติต่อไป

ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการบริหารจัดการด้านแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยยึดหลักการคุ้มครอง แรงงานด้วยความเสมอภาคความเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นแรงงานต่างด้าวหากเป็น ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แล้วย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เช่นเดียวกับแรงงานไทยทุกประการสอดคล้องกับกฎบัตรสหประชาชาติ ผลกระทบทำให้วิถีชีวิต ประชาชนคนไทยในชุมชนนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกิดการแก่งแย่งการใช้บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน รัฐคุ้มครองสิทธิและคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวตามกฎหมายแต่อาจจะยังไม่สามารถเข้าถึง บริการใช้สิทธิของตนเองแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว จะต้องได้รับความร่วมมือทุกภาค ส่วนทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ธุรกิจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่จะต้องมีการประสานงานการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการให้สัมฤทธิ์ผล เพื่อให้แรงงานต่างด้าวไม่สร้างปัญหาให้กับสังคมไทย

References

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2547). บทสังเคราะห์สถานการณ์คนข้ามชาติและทางเลือกนโยบายการนำเข้าแรงงานข้ามชาติ ของประเทศไทย . นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครอง แรงงานในกิจการที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวทำงาน. โครงการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสนิส แมเนจเม้นท์ จำกัด.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2550). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคม นักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย (TURA).

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). การพัฒนาสภาพการ ทำงานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. งานวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรธร บุณยรัตพันธุ์. (2546). รูปแบบสำหรับองค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะ ประเภทภารกิจพื้นฐานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา บวรวัฒนา. (2548). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยงยุทธ์ แฉล้มวงษ์ และ ฉลองภพ สุสังกริกาญจน์. (2539). การจัดการแรงงานต่างด้าวอพยพต่างชาติระยะยาว. กรุงเทพมหานคร : สำนักคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Pinder, C. C. (1984). Work Motivation Theory, Issues and Applications. Glenview: Scott Foresman.

Maslow, A. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.

McGregor, D. (1960).The Human Side of Enterprise. New York: McGraw-Hill.

Adtrid, D. (1999). Management and Control in Virtual Working. New York: Routledge.

Herzberg, F., Mausner, B., and Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

McClelland, D. C. (1961).The Achieving Society. New York: Van Nostrand Reinhold.

Glisson, C. and Durick, M. (1988). Predictor of Job Satisfaction and Organization Commitment in Human Service Organization. Administrative Science Quarterly, 33, 61-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17