ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อเหตุผลในการตัดสินใจ เลือกใช้บริการดิจิตอลแบงก์กิ้ง ของธนาคารกสิกรไทย ในเขตอําเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วีรภรณ์ จึงสวัสดิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ประสพชัย พสุนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ดิจิทัลแบงก์กิ้ง, ทัศนคติ, การยอมรับทางเทคโนโลยี, พฤติกรรมและการรับรู ้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจเลือกใช้บริการดิจิตอลแบงก์กิ้ง ของธนาคารกสิกรไทย ในเขตอําเภอเมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม เพื่อใช้ ในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมในการทําธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางโมบาย แอปพลิเคชั่น K-Plus ช่วยในการพัฒนาคุณภาพของระบบและการบริการเพื่อให้มีความน่าเชื่อถือและให้ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ทําการเก็บข้อมูลผู้ที่ใช้โมบาย แอปพลิเคชั่น K-Plus จํานวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-state Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย ChiSquare Test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-35 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้บริการ ด้านการรับรู้เทคโนโลยีและความเสี่ยงที่มีต่อการใช้บริการ แอพพลิเคชั่น K-Plus ของธนาคารกสิกรไทยโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด การทดสอบ สมมติฐานเหตุผลที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่น K-Plus ด้านความน่าเชื่อถือและ ปลอดภัยในการใช้บริการ การประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทําธุรกรรมที่ธนาคาร ความ สะดวกในการทําธุรกรรมการเงินได้ตลอดเวลา และค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าทําธุรกรรมที่ธนาคาร ซึ่งแต่ละ ปัจจัยล้วนส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่น K-Plus ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05

References

ณัฐณี คุรุกิจวาณิชย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารทางโทรศัพท์ของ ธนาคารออมสิน ในเขตธนาคารออมสินภาค 3. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เดชาพล สวนสุข. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการการชําระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน แอพพลิเคชั่น มายโม่ เพย์ ของธนาคารออมสิน ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ธนาภา หิมารัตน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงิน บริบท ธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ท้อป.

พิมพ์นิภา บัวแสง. (2561). Digital Transformation พลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดดิจิทัล.อุตสาหกรรมสาร, 60 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2561),24-26.

ภัคจิรา นิลเกษม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ตของลูกค้าธนาคาร กรุงเทพ จํากัด (มหาชน) ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ภัทรดนัย พิริยะธนภัทร. (2558). การศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านพฤติกรรม ผู้บริโภค และปัจจัย ด้านเว็บไซต์พระเครื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่า หรือประมูลพระเครื่อง ออนไลน์ (E-Commerce). การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรวุฒิ มีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขต กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

สัจจาภรณ์ ไชยเสนา. (2560). พฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้บริการ Mobile Banking ของธนาคาร พาณิชย์. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญชฎา สายสนั่น ณ อยุธยา. (2558). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ของ ประชากร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control (9th ed.). New Jersey: Asimmon and Schuster.

Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (1994). Consumer Behavior (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17