การวางแผนการเงินก่อนเกษียณกับคุณภาพชีวิตที่มีความสุข หลังเกษียณของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

ผู้แต่ง

  • ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

การวางแผนการเงิน, เกษียณการทํางาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการวางแผนการเงินก่อนเกษียณของอาจารย์คณะ บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม และ 2) เพื่อศึกษาการคาดการณ์อาชีพและรายได้หลังเกษียณของ อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ ทั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บรวบรวมข้อมูลกับอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2563 ที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี จํานวน 47 คน เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนการเงินของอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ส่วน ใหญ่ร้อยละ 42.6 ทําเมื่อเหลืออายุงาน 1-10 ปี อาจารย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 คิดว่ารายได้ภายหลังจาก การเกษียณเพียงพอต่อรายจ่าย และที่เหลือร้ อยละ 42.6 คิดว่าไม่เพียงพอ หากรายได้ไม่เพียงพอต่อ รายจ่าย จะแก้ปัญหาโดยการลดรายจ่ายที่ไม่จําเป็นหารายได้ให้มากขึ้น ทําบัญชีรายรับ-รายจ่าย ปัจจุบัน อาจารย์ส่วนใหญ่รับข่าวสารจากสื่อ Internet และโทรทัศน์ ข่าวสารที่ติดตามเป็นด้านเศรษฐกิจ การเงิน การตลาดและการลงทุน อาจารย์ที่เกษียณอายุแล้วคาดว่าจะมีงานประจําอื่นๆ ทําต่อ และวางแผน ทางการเงินในรูปแบบ เงินฝากธนาคาร กองทุนรวม ซื้ออสังหาริมทรัพย์ 2) การคาดการณ์รายได้หลัง เกษียณอยู่ระหว่าง 20,000-200,000 บาท มีค่าเฉลี่ยเป็ น 56,400 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ มีรายได้หลัง เกษียณเป็นดอกเบี้ยรับ ค่าเช่า เงินปันผล ค่าสอบบัญชี ทําบัญชี รับจ้างอิสระ ขายของออนไลน์ เป็นต้นการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ คือ ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายประจําที่จําเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่า เสื้อผ้า ค่าไฟ ค่านํ้า ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเลี้ยงดูบุตรหลาน การผ่อนทรัพย์สิน

 

References

ณัฐฐาวรี ศรีวัฒนไชย. (2563). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายุของพนักงาน บริษัท หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จํากัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงินและการ ธนาคาร, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

นลินี ศรีวิลาศ และ ปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2560). พฤติกรรมการเข้าถึงและการใช้งานอินเตอร์เน็ตของกลุ่ม ผู้สูงอายุอําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล ครั ้งที่ 9 ในหัวข้อ ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วันที่ 7-9 สิงหาคม 2560.

นิธิศ หัตถการุณย์. (2548). พฤติกรรมการลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนประเภทบุคคลในเขต กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

เพ็ญประภา เบญจวรรณ. (2558). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส ราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 82-92.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย. (2553). หลักสูตรวางแผนการเงิน: ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน สถาบันกองทุนเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย.

สุชาดา สะวะพรม. (2558). การให้คุณค่า และลักษณะการออมเงินของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการ ธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) สาขาอาคารซิลลิคเฮาส์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุมนา บุปผา ศรีอร สมบูรณ์ทรัพย์ และพัฒน์ พัฒนรังสรรค์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนทาง การเงินของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(3), 115-124.

สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2557). การสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณให้คนไทย. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์.

สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ). (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ).

United Nations. (2010). World Population Prospects. New York: Department of Economic and Social Affairs, Population Division, United Nations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17