ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการใช้บริการเงินฝากของลูกค้าธนาคารธนชาต ก่อนเปลี่ยนเป็นธนาคารทีเอ็มบีธนชาต

ผู้แต่ง

  • เอกภพ มณีนารถ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • จิตระวี ทองเถา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • รุ่งโรจน์ สงสระบุญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต, ความพึงพอใจ, การใช้บริการเงินฝาก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจปัจจัยส่วนบุคคล ระดับพฤติกรรมและความพึงพอใจของ การใช้บริการตลอดจนเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการใช้บริการ เงินฝากของลูกค้าธนาคารธนชาตก่อนเปลี่ยนเป็ นธนาคารทีเอ็มบีธนชาต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้ใช้บริการธนาคารธนชาตก่อนเปลี่ยนเป็ นธนาคารทีเอ็มบีธนชาต จํานวน 400 ราย ทําการสุ่ม ตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็ นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับ ผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติไคสแควร

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรี มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป และประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน นอกจากนี้ผู้วิจัยยัง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไปใช้บริการกับเพื่อนมากที่สุด มีความถี่ในการใช้บริการ 5-6 ครั้งต่อเดือน นิยมไปใช้บริการในวันเสาร์ เวลาที่ไปใช้บริการคือ 14.01 น.-15.30 น. และปัจจัยที่มีความพึงพอใจในการ ใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้าน สถานที่ให้บริการ ส่วนการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อเดือน และ อาชีพมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารธนชาต ก่อนเปลี่ยนเป็นธนาคารทีเอ็มบี ธนชาต นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ไปใช้บริการร่วมด้วย ความถี่ในการใช้บริการ วันที่ไปใช้บริการ และเวลาที่ไป ใช้บริการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้บริการธนาคารธนชาตก่อนเปลี่ยนเป็นธนาคารทีเอ็มบี ธนชาต

References

กัลยา วาณิชบัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง SEM ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.

สรชา สุขศรีนวล. (2554). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสินเชื่อที่อย่อาศัยของธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

เอกรัฐ วงศ์วีระกุล. (2553). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ของ คนทํางานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการ จัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Kotler, P. (2000). Marketing Management (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Solomon, M.R. (2007). Consumer Behavior (7th ed.) New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17