นโยบายการส่งเสริมการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบกระป๋องในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สกล สุขเสริมส่งชัย สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

นโยบาย, อุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบกระป๋อง, ข้อตกลงพหุภาคีสำหรับการลงทุน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ อุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะสำหรับอาหารและเครื่องดื่มกระป๋ องของไทย 2) ศึกษาพัฒนาการของนโยบายการส่งเสริมการก่อตั้งโรงงานแล็กเกอร์ของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งทิศทางในอนาคต ทั้งในด้านบุคลากร ด้านวัตถุดิบ และด้านองค์ความรู้3) ศึกษาบทบาทของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต่อการอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะ และ 4) ศึกษาแนวทางพัฒนาความสัมพันธ์ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต่อการส่งเสริมการกำหนดนโยบายเพื่อการก่อตั้งโรงงานแล็กเกอร์ของไทย กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 7 คน และ กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบการภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจ จำนวน 17 คน รวมทั้งหมด 24 คน และกลุ่มตัวอย่าง เชิงปริมาณได้แก่ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่แบบสอบถาม ซึ่งการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้เหตุผลตามหลักตรรกะ ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสร้างข้อสรุป สถิติที่ใช้ วิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่าความเชื่อมั่น (reliability) ค่าที (t-test independent) และค่าเอฟ (F-test) ถ้าพบความแตกต่าง จะทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า

1) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะสำหรับอาหารและ เครื่องดื่มกระป๋องคือภาครัฐไม่มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนและไม่มีหน่วยงานภาครัฐกำกับดูแลอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะภาครัฐมุ่งบังคับใช้กฎหมายตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมแล็กเกอร์ เคลือบแผ่นโลหะเท่านั้นโดยมีลักษณะทางอ้อมมากกว่า ส่งผลท าให้ภาคเอกชนต้องดำเนินธุรกิจในลักษณะ Business to Business ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศจนถึงการส่งออกต่างประเทศ ซึ่งปัญหา อุปสรรคที่พบคือขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านศุลกากร ปัญหาด้านการส่งเสริมการส่งออก และปัญหา การวิจัยเพื่อพัฒนาด้านวัตถุดิบ บุคลากร และเทคโนโลยีจากหน่วยงานภาครัฐ

2) การพัฒนานโยบายการส่งเสริมการก่อตั้งโรงงานแล็กเกอร์ของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า ภาคเอกชนดำเนินการธุรกิจในอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะเองทั้งหมดตั้งแต่ด้านบุคลากร ด้านวัตถุดิบ และด้านองค์ความรู้ พบว่าภาครัฐไม่มีนโยบายหรือหน่วยงานภารัฐเข้ามาส่วนร่วมในการส่งเสริม อุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะ ส่งผลให้การก่อตั้งโรงงานแล็กเกอร์ เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยกลไกภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะอย่างเป็น ระบบ เพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และการสร้ างองค์ความรู้ เกี่ยวกับ อุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะ

3) บทบาทของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต่อการอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะ สำหรับอาหารและเครื่องดื่มกระป๋องของไทยพบว่าภาคเอกชนด าเนินธุรกิจแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะโดยที่ ภาครัฐไม่มีนโยบาย หน่วยงานในการส่งเสริมสนับสนุน ซึ่งภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาการให้ ภาคเอกชน ภาคประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการก าหนดนโยบายและจัดตั้งหน่วยงาน กำกับดูแลอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะของไทย

4) แนวทางพัฒนาความสัมพันธ์ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต่อการส่งเสริมการ กำหนดนโยบายเพื่อการก่อตั้งโรงงานแล็กเกอร์ของไทย โดยที่ภาครัฐจะต้องเป็นตัวกลางในฐานะ ผู้บริหาร ราชการแผ่นดินและผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจควรส่งเสริมและพัฒนาในลักษณะรูปแบบภาคีรัฐ-สังคม ภาครัฐเข้าแทรกแซงให้ความช่วยเหลือส่งเสริมอย่างเป็นทางการ โดยใช้ลักษณะระหว่างรัฐกับกลุ่มนักธุรกิจผู้ ลงทุน กลุ่มผู้ใช้แรงงานในกระบวนการผลิตและการจ้างงานและคุ้มครองผู้บริโภค โดยเจรจาข้อตกลงกลุ่มเปิด การลงทุน (Multilateral Agreement on Investment : MAI) ซึ่งจะก่อให้เกิดนโยบายและหน่วยงานทำหน้าที่ ส่งเสริมก่อตั้งโรงงานแล็กเกอร์ของไทยและพัฒนาอุตสาหกรรมแล็กเกอร์เคลือบแผ่นโลหะสำหรับอาหารและ เครื่องดื่มกระป๋องของไทยต่อไป

 

References

ศิริพรรณ นกสวน. (2546). คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2549). การแปรสภาพของรัฐสมัยใหม่. เอกสารวิจัยเพื่อประกอบการเรียนการสอน วิชา454516 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2545). นโยบาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2542). รัฐ สังคม และการเปลี่ยนแปลง: การพิจารณาในเชิงอำนาจนโยบาย และ เครือข่ายความสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

Webster's Third New International Dictionary, Unabridged. (1976). Springfield: MerriamWebster Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-21