การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปะอาหารในการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐกานต์ พฤกษ์สรนันทน์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จุฑามาศ วิศาลสิงห์ บริษัท เพอร์เฟคลิงค์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จํากัด
  • สมยศ แก่นหิน บริษัท เพอร์เฟคลิงค์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จํากัด

คำสำคัญ:

การสร้างมูลค่าเพิ่ม, การท่องเที่ยวเชิงศิลปะอาหาร, การท่องเที่ยวชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางหรือรูปแบบในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการที่ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โดยการสร้างกระบวนการทํางานร่วมกันระหว่าง ทูตด้านอาหาร (Gastro Diplomats)และพ่อครัวแม่ครัวในท้องถิ่น และเพื่อศึกษากระบวนการสร้างต้นแบบแนวทางในการเชื่อมโยง เรื่องการท่องเที่ยวเชิงศิลปะอาหารกับการเกษตรตามแนวคิดเกษตรกรผู้ปราดเปรื่อง (Smart Farmers) และการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ สู่สินค้าและบริการการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งเพื่อประยุกต์ แนวทางหรือรูปแบบการคิดสร้างสรรค์สู่การเพิ่มมูลค่าและการสอดประสานวิถีไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นในสาขางานศิลป์ ที่หลากหลายที่นําสู่การพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยว เพื่อนําสู่เศรษฐกิจสร้ างสรรค์ และเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยคุณค่า โดยเน้นส่งเสริมการออกแบบงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวตาม รูปแบบการออกแบบบนฐานของชุมชน โดยนําวิถีไทย วิถีถิ่น มานําเสนอเป็ นสินค้าทางการท่องเที่ยวใหม่ได้ เป็น การท่องเที่ยวเชิงศิลปะอาหาร ซึ่งมีเทคนิคการนําเสนออาหารเชิงศิลปะเป็ นตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) ช่วยกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ในการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นในชุมชนได้ด้วย เช่น รูปแบบใหม่ ในการจัดวางอาหารและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กฤชณัท แสนทวี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าแบรนด์ด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยใน โครงการท่องเที่ยววิถีไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 11(4), 281-292.

กาลัก เต๊ะขันหมาก. (2553). หลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

จุฑามาศ วิศาลสิงห์ และคณะ. (2558). แผนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยววิถีไทยและพัฒนาศักยภาพการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย สนับสนุนโดย สํานักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, บริษัท เพอร์เฟคลิงค์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จํากัด.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

พิจิตรา มงคลศรีพิพัฒน์. (2559). พฤติกรรมการเปิ ดรับ และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เที่ยวไทยเท่ กับพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทย. การค้นคว้ าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรพล โสคติยานุรักษ์. (2557, 25 ธันวาคม). "เศรษฐกิจสร้างคุณค่า พัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน (1)". กรุงเทพธุรกิจ.

สิน พันธุ์พินิจ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สํานักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2558). ยุทธศาสตร์และข้อมู ลเพื่อการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สํานักงาน จังหวัดบุรีรัมย์.

สํานักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์. (2558). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทําข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัด บุรีรัมย์. บุรีรัมย์: สํานักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์.

สํานักพัฒนาการประชาสัมพันธ์. (2560). เที่ยวไทยเท่. กรุงเทพฯ: สํานักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรม ประชาสัมพันธ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29