ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดจำหน่ายระหว่างประเทศสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่าง ประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ผล พรวันทา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ณัชชา กริ่มใจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

สินค้าอุปโภคบริโภค, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ,, การจัดจำหน่ายระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) ซึ่งประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)และการวิจัยเชิง ปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จกับการจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย สินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผลการศึกษาพบว่า

  1. องค์ประกอบความสำเร็จของการบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายระหว่างประเทศ สำหรับสินค้า อุปโภคบริโภคระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มี 3องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารการครอบครองตัวสินค้า 2) การบริหารต้นทุนของระบบสนับสนุนการขนส่ง และ 3) การบริหารความเสี่ยงจากการดำเนินกิจกรรมการจัดจำหน่าย
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จกับการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า อุปโภคบริโภคระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความสัมพันธ์กัน

References

เกตุวดี สมบรูณ์ทวี. (2554). การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing). เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภูดินันท์ อดิทิพยางกรู. (2555). การบริหารช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

รมิสต์ฐากร ตันประวัติ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการศูนย์กระจายสินค้าไทยในต่างประเทศ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 32(1),1-15.

รัชนีกร อุตตมา. (2553).ช่องทางการจัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษของเกษตรกรในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลยัเชียงใหม่.

ศศิวิมล สุขบท. (2556). การตลาดระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2558). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อคัวรรณ์ แสงวิภาค. (2554). การตลาดระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Keegan, W.J. (2002).Global Marketing Management. New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3),607-610.

Liu, K. (2008). Channel Competition and Selection in A Capacitated Multi-channel Distribution System. International Journal ofLogistics Systems and Management, 4(5),596-616.

Stanton, W. and Futrell, C. (1987).Fundamentals of Marketing (8th ed.). New York:McGraw -Hill.

Wakolbinger, L.M. and Stummer, C. (2013). Multi-channel Management: An Exploratory Study of Current Practices. International Journal of Services, Economics,and Management, 5(1),112-124.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29