การพัฒนานวัตกรรมการจัดการกลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์

ผู้แต่ง

  • สุภาณี อินทน์จันทน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนานวัตกรรมการจัดการ, กลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกลุ่มหัตกรรม OTOP เบญจรงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากรอบแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกลุ่ม หัตถกรรม OTOP เบญจรงค์ (2) ศึกษาบริบทแวดล้อมและองค์ประกอบในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการ กลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์ และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการจัดการที่เหมาะสมกับ กลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยเชิงผสม โดยนำการวิจัยเชิง ปริมาณ และเชิงคุณภาพเข้ามาใช้ในการทำวิจัยร่วมกัน เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ใน การวิจัยแต่ละข้อ สำหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการเบญจรงค์ และผู้สนับสนุนการบริหารจัดการและการสนับสนุนเครือข่ายของกลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการโดยรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก โดย Five Competitive Forces มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาตามลำดับดังนี้ The 7P's Services Marketing Mix, McKinsey 7's Framework และแนวคิดเรื่องอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ พบว่า The 7P’s service marketing mix มีอิทธิพลในการพยากรณ์ ความเป็นไปได้ของการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเพื่อยกระดับกลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์ และยัง พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกลุ่ม หัตถกรรม OTOP เบญจรงค์ มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าสมการ พยากรณ์ที่ได้จากการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการ จัดการกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์ มีความสอดคล้องกับผลวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการกับการพัฒนานวัตกรรม การจัดการกลุ่มหัตถกรรม OTOP เบญจรงค์

References

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. (2001). ความสามารถในการจัดการความรู้กับความสามารถทางนวัตกรรมของผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมในประเทศไทย. NIDA Development Journal, 51(1), 157-199.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร. (2554). ทะเบียนรายชื่อกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ใน จังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร. (เอกสารอัดสำเนา)

__________. (2553). ผลการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ไทย (OTOP Product Champion: OPC) ในจังหวัดสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สมุทรสาคร. (เอกสารอัดสำเนา)

สุธี พนาวร และจักรกฤษณ์ พุ่มไพศาลชัย. (2553). ผ่ากึ๋นจอมอัจฉริยะ Peter Drucker. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

อรพินท์ สพโชคชัย. (2546). เอกสารประกอบการบรรยาย การพัฒนาระบบราชการเพื่อการบริหาร ราชการแบบบูรณาการ. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

อุษา เทียนทอง. (2546). ความหมาย ความสำคัญ และแนวทางการบูรณาการแผนชุมชน. ใน เอกสารประกอบการสมัมนาเชิงปฏิบัติการ"คณะท างานประสานงานระดับจังหวัด โครงการบูรณาการ แผนชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและเอาชนะความยากจน วันที่ 1 - 2 พฤษภาคม 2546 ณ โรงแรมบี พี แกรนด์ทาวเวอร์ หาดใหญ่ จ.สงขลา. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

Drucker, P. F. (1985). Innovation and Entrepreneurship. New York: Harper.

Drummond, G. and Ensor, J. (2005). Introduction to Marketing Concepts. Oxford : Elsevier Butterworth-Heinemann.

Fisk, P. (2009). Customers Genius. Mankato: Capstone.

Grecs, J. (1997). Outsourcing: The new Partnership. Journal of Business Strategy, 18(4), 48- 54.

Lauterborn, B. (1990). New Marketing Litany: Four Ps Passe: C-words Take Over. Advertising Age,61(41), 26.

Lovelock, C. and Wright, L. (2002). Principles of Service Marketing and Management. New Jersey: Pearson Education International, Inc.

Porter, M. E. (1985). Competitive Advantage-Creating and Sustaining Superior Performance. New York: Free Press.

Russell-Walling, E. (2009). MBA 50 หลักการบริหาร (ณัฐยา สินตระการผล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซ เปอร์เน็ท.

Waterman, R., Peters, T. J., and Phillips, J. R. (1980). Structure Is Not Organization. Business Horizons, 23(3), 14-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-21