ศักยภาพบุคลากรในองค์กร: การประเมินและพัฒนา

ผู้แต่ง

  • ศจีรัตน์ เมธีสุวภาพ มหาวิทยาลัยสยาม
  • สมถวิล วิจิตรวรรณา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การประเมินศักยภาพ, เมทริกซ์ของผลการปฏิบัติงานและศักยภาพ

บทคัดย่อ

ศักยภาพของบุคลากรโดยทั่วไปมักหมายถึง ความสามารถสูงสุดที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล ความสามารถที่แสดงอยู่ในปัจจุบันอาจไม่ใช่ความสามารถสูงสุดของบุคคลนั้น การพัฒนาความสามารถจะทำให้เกิดเป็นศักยภาพของบุคคลนั้น ส่วนสมรรถนะเป็นความสามารถที่ประจักษ์ชัดเจนในการปฏิบัติงานตามตำแหน่งที่กำหนด ความสามารถที่บุคคลแสดงออกมาเป็นความสามารถที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอาจไม่สูงสุดหรือเต็มศักยภาพ บุคคลสามารถทำได้ดีขึ้นกว่าเดิมไปอีกเรื่อยๆ เมื่อได้แสดงความสามารถอย่างสูงสุดแล้ว จึงจะเรียกว่า เต็มศักยภาพ

แนวคิด The Performance and Potential Matrix, 9-Box Model เป็นเครื่องมือที่องค์กรต่างๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการวางแผนและพัฒนาให้ประสบผลสำเร็จ แนวคิดนี้จัดประเภทบุคลากรเป็น 2 มิติ คือ ด้านผลการปฏิบัติงาน และด้านศักยภาพ เป็นเรื่องของความสามารถและความรู้ในงานที่ปรากฏในปัจจุบันที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับสิ่งที่เป็นอุดมคติ โดยพิจารณาจากทักษะในงาน ความรู้ทางเทคนิค พฤติกรรม ความมุ่งมั่น ความยืดหยุ่น ประสิทธิผล และผลลัพธ์

การประเมินเพื่อการพัฒนาศักยภาพเฉพาะด้านของบุคลากรที่องค์กรต้องการจะต้องทำนิยามของศักยภาพเฉพาะที่ทำให้สามารถระบุตัวชี้วัด หรือกำหนดรายการของคุณลักษณะได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม ทำให้การประเมินง่ายขึ้น เป็นการสร้างความยุติธรรมในการประเมิน ตัวชี้วัดจะต้องเป็นการกำหนดพฤติกรรมที่คงที่ สามารถสังเกตเห็นและวัดได้ การออกแบบวิธีการวัดศักยภาพเป็นการพิจารณาองค์ประกอบของการประเมินเพื่อวางแผนกำหนดว่า ใครจะเป็นผู้ประเมิน ด้วยวิธีการใด และใช้เครื่องมือประเภทใดในการประเมิน โดยทั่วไปผู้ประเมินมักจะเป็นผู้บังคับบัญชาที่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพ ส่งเสริมให้เติบโตขึ้น เพื่อทำความเจริญให้กับองค์กรได้อย่างสูงสุดในอนาคต

References

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27