ความเป็นไปได้ทางการตลาดสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้านป้องกันตนจากการก่อการร้าย

ผู้แต่ง

  • กมลชนก ลิ้มวิจิตสุข สาขานิติเศรษฐศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความเป็นไปได้ทางการตลาด, การก่อการร้าย, บ้านป้องกันตนเอง

บทคัดย่อ

ความเป็นไปได้ทางการตลาดของอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านป้องกันตนจากการก่อการร้ายเป็น การวิจัยที่มุ่งเน้นให้ได้มาซึ่งข้อเสนอเกี่ยวกับความเป็นไปได้ทางการตลาด ในการดําเนินการวิจัยนี้อาศัย ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกับวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายหลากทฤษฎีเช่น ทฤษฎีด้าน การตลาด ด้านกฎหมาย สถาปัตยกรรม การก่อสร้าง และด่านเศรษฐศาสตร์ ได้รับข้อมูลจากผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องทั้งจากผู้ประกอบการ ประชาชนในพื้นที่และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการก่อการร้าย ซึ่งในความต้องการ ของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยพบว่า ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้มี ความต้องการที่อยู่อาศัยที่สามารถป้องกันตนจากการก่อการร้ายถึงร้อยละ 65.50 ทั้งในลักษณะซื้อหรือต่อ เติมบ้านภายใต้งบประมาณต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท รูปแบบบ้านที่ต้องการซื้อคือ บ้านเดี่ยวมีขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 50 ตารางเมตร แต่อุปสรรคหลักในความสําเร็จนี้คือ ปัจจัยด้านราคา เนื่องจากประชาชนใน พื้นที่รายได้ต่อครอบครัวเฉลี่ยต่ำกว่า 50,000 บาทต่อเดือน ข้อเสนอแนะจากประชาชนคือ การได้รับความ ร่วมมือจากทางรัฐบาลเข้ามามีส่วนช่วยให้การดํารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่มีความผาสุก

References

กิตติ รัตนฉายา. (2549). ถอดรหัสไฟใต้. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิต.

กรุงเทพธุรกิจ. (2557). 10 ปีไฟใต้งบทะลุ 2 แสนล้าน. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2557,จาก

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20140105/553854/10

ชัยณรงค์ พงษ์สวัสดิ์. (2545). ความหมายการก่อการร้าย: ผู้ก่อการร้ายหรือนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพ. วารสารเสนาศึกษา, 68, 13-22.

________. (2546). ยุทธศาสตร์ของการก่อการร้ายรูปแบบใหม่. วารสารเสนาศึกษา, 69, 24-25.

พรพรรณ วีระปรียากูร. (2555). สถานภาพและสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ในสามจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เพชรดาว โต๊ะมีนา. (2553). สรุปผลการดําเนินงานคณะทํางานเยียวยาผู้พิการที่ได้รับผลกระทบสืบ เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจําปี 2553. สงขลา: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 จังหวัดชายแดนภาคใต้.

________. (2556). การดูแลเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้. วารสารสุขภาพจิตใจแห่งประเทศไทย, 21(3), 171-184.

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. (2556). มาตรฐาน NIJ. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2556,จาก https://www.mtec.or.th/academic-services/mtec-knowledge/965-#

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ. (2558). การก่อการร้ายในภูมิภาคอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2558,จาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php

ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2556). รายงานผลการดําเนินงานการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2557,จาก http://www.sbpac.go.th/index.php?option=com_k2&view=item&layout=item&id=955&Ite mid=592

Cooper, D.R. and Schindler, P.S. (2003). Business Research Methods (8th ed.). New York: McGraw-Hill.

Ghauri, P. and Gronhaug, K. (2002). Research Methods in Business Studies (2nd ed.). New York: Pearson Education.

Jenkins, B.M. (1990). International Terrorism: The Other World War International Terrorism. California: Controls.

Kotler, P. (2003). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27