รูปแบบกลยุทธ์การมุ่งเน้นตลาดอาหารมังสวิรัติแช่แข็ง เพื่อสุขภาพสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • Chanya Kamboon Business Administration Program in Marketing, Siam University
  • Prin Laksitamas Business Administration Program in Marketing, Siam University

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การมุ่งเน้นตลาด, อาหารมังสวิรัติแช่แข็งเพื่อสุขภาพ, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้วิจัยเกี่ยวกับรูปแบบกลยุทธ์การมุ่งเน้นตลาดอาหารมังสวิรัติแช่แข็งเพื่อสุขภาพสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้เก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างเดือนกรกฎาคมถึง กันยายน2555 โดยมี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการตลาดของผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารมังสวิรัติแช่ แข็งเพื่อสุขภาพในด้านการปรับกลยุทธ์การมุ่งเน้นตลาด โดยแยกเป็นการมุ่งเน้นตลาดภายนอก (การมุ่งเน้น กลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน การมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายในอนาคต และการส่งเสริมสนับสนุนของภาครัฐ) และการ มุ่งเน้นตลาดภายใน (การมุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีการมุ่งเน้นที่ความเข้าใจถึงอุปสรรค และความเสี่ยงการมุ่งเน้น ที่การปรับตัวของผู้ประกอบการและการมุ่งเน้นที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่) และผลสำเร็จทางการตลาด (กำไรต้องเพิ่มขึ้น จำนวนผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น และสามารถนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดอาเซียน) สู่การเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรหรือองค์ประกอบสำคัญที่มีผลกระทบจากตัวแปรแทรก (ขนาดองค์กร) ต่อความสัมพันธ์เชิงสาเหตุส่งผลสำเร็จทางการตลาดขององค์กรตามสมมติฐาน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อผลสำเร็จทางการตลาดขององค์กรอุตสาหกรรมอาหารมังสวิรัติแช่แข็งเพื่อสุขภาพการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างที่มา จากหน่วยงานภาครัฐจำนวน 5 หน่วยงาน และวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ผู้ประกอบการ จำนวน 549 คน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบข้อมูลเพื่อหารูปแบบโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structure equation model : SEM) และทดสอบสมมติฐานผลการวิจัยพบว่า หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่สนับสนุนด้านการสื่อสารมากกว่าสนับสนุนด้านการเงินและแนวทางการตลาดของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม อาหารมังสวิรัติแช่แข็งในภาพรวมอยู่ในระดับสูงจากกลยุทธ์ทิศทางการมุ่งเน้นตลาด ผลการวิเคราะห์ที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่าสมมติฐานที่ 2 สมมติฐานที่ 6 สมมติฐานที่ 7 และ สมมติฐานที่ 8 เป็นสมมติฐานที่ยอมรับได้เพราะฉะนั้น รูปแบบนี้สามารถพัฒนาขึ้นในรูปประหยัด (R2 = 42 %) ที่มีค่าตั้งแต่ ร้อยละ40 ขึ้นไป

References

Ahmed, Z.U., Mohamed, O., Johnoson, J.P., and Meng, L.Y. (2002). Export Promotion Programs of Malaysian Firm: An International Marketing Perspective. Journal of Business Research, 55(10), 831-843.

Augusto, M. and Coelho, F. (2009). Market Orientation and New-to-the-World Products: Exploring the Moderating Effects of Innovativeness, Competitive Strength, and Environmental Forces. Industrial Marketing Management, 38, 94-108.

Calantone, R.J. and Di Benedetto, C.A. (1988). An Integrative Model of the New Product Development Process. Journal of Product Innovation Management, 5(3), 201-215.

Day, G.S. (1999). Misconceptions About Market Orientation. Journal of Market Focused Management, 4, 5-16.

Day, G.S. and Wensley, R. (1988). Assessing Advantage: A Framework for Diagnosing Competitive Superiority. Journal of Marketing, 52(4), 1-20.

Doyle, P. (2002). Marketing Management and Strategy (3rd ed.). Singapore: Prentice-Hall.

Export Import Bank of Thailand. (2012). Stock Markets in Asia ... Many Issues that SMEs Should Know. Retrieved January 4, 2013, from http://www.exim.go.th/en/services/InternationTradeService.aspx

Gatignon, H. and Xuereb, J.M. (1997). Strategic Orientation of the Firm and New Product Performance. Journal of Marketing Research, 34(2), 77-90.

Hill, C.W. (2007). International Business: Competing in the Global Marketplace (6th ed). Boston: McGraw-Hill/Irwin.

Keegan, W.J. (2002). Global Marketing Management (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Li, T. and Calantone, R.J. (1998). The Impact of Market Knowledge Competence on New Product Advantage: Conceptualization and Empirical Examination. Journal of Marketing, 62(4), 13-29.

Madanmohan, T.R., Kumar, U., and Kumar, V. (2004). Import-Led Technological Capability: A Comparative Analysis of Indian and Indonesian Manufacturing Firms. Technovation, 24(12), 979-993.

Porter, M.E. (1998). The Competitive Advantage of Nations: With a New Introduction. New York: The Free Press.

Prajogo, D.I. and Ahmed, P.K. (2006). Innovation Stimulus and Innovation Capacity: Integrating the Human and Technological Sides of Innovation Management - An Australian Study. R&D Management, 36(5), 499-515.

Song, X.M. and Parry, M.E. (1997). A Cross-National Comparative Study of New Product Development Processes: Japan and the United States. Journal of Marketing, 61(2), 1- 18.

Verhees, F. (2005). Market-Oriented Product Innovation in Small Firms. Wageningen: Wageningen University.

Zakaria, N. and Abdul-Talib, A.N. (2010). Applying Islamic Market-Oriented Cultural Model to Sensitize Strategies Towards Global Customers, Competitors, and Environment. Journal of Islamic Marketing, 1 (1), 51-62.

Zheng, Z.K., Gao, G.Y., Yang, Z. and Zhou, N. (2005). Developing Strategic Orientation in China: Antecedents and Consequences of Market and Innovation Orientations. Journal of Business Research, 58(8), 1049-1058.

Zhou, K.Z., Yim, C.K., and Tse, D.K. (2005). The Effects of Strategic Orientations in Technology-and Market-Based Break Through Innovations. Journal of Marketing, 69(2), 42-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27