องค์ประกอบในการเลือกหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตหนองแขม

ผู้แต่ง

  • อุไรรัตน์ แย้มชุติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การเลือกหอพัก, นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตหนองแขม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกหอพักของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตหนองแขม และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีอิทธิพลในการเลือกหอพักของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตหนองแขม ประชากรที่การศึกษาคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขต หนองแขม จำนวน 2 มหาวิทยาลัยประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และ มหาวิทยาลัยธนบุรี มี จำนวน 10,310 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง และในการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) ขนาดตัวอย่างจำนวน 400 คน คำนวณจาก 20 เท่าของตัวแปร สังเกตได้ (Hair, 2010) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกหอพักมีคะแนนเฉลี่ยเป็น 3.62 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 0.92 คะแนน กล่าวคือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกหอพักมีความสำคัญมากต่อ การเลือกหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตหนองแขม และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบที่มีอิทธิพลในการเลือกหอพักของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตหนองแขม มี 5 องค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 คือ ราคามาตรฐานและความปลอดภัยของหอพัก องค์ประกอบที่ 2 คือ ความเหมาะสมของ สถานที่หอพัก องค์ประกอบที่ 3 คือ ความสะอาดและสิ่งอำนวยความสะดวกของหอพัก องค์ประกอบที่ 4 คือ กฎระเบียบและความยุติธรรมของหอพัก และองค์ประกอบที่ 5 คือ ใกล้ศูนย์การค้า

References

กาญจนา บุญภักดิ์. (2554). การเลือกอยู่หอพักของนักศึกษาสถาบนัเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง .

ชัชวาล เวศย์วรุตม์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการเลือกพักอาศัยในหอพักของผู้บริโภคในอำเภอ เมืองนครปฐม. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประกอบการ, มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

ชนัญญา ขยิ่มค้า. (2549). ปัจจัยด้านหอพักและส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเช่าหอพัก กรณีศึกษา: หอพักจันทร์กระจ่าง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

ธัญนาฏ ญาณพิบูลย์ และคณะ. (2553).แนวทางการธำรงรักษาทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษาธนาคารซีไอเอ็ม บี ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประวิชญา ผลกันทา. (2547). อุปทานของหอพักเอกชนที่มีต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มนตรี แย้มกสิกร. (2542). รูปแบบหอพักนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ทบวงมหาวิทยาลัย.

มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ. (2543). หอพักกับการพัฒนานิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. รายงานการวิจัย. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

________. (2544). การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับหอพักเอกชน. รายงานการวิจัย. นครปฐม: คณะสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัตนาภรณ์ ศิริเครือวัลย์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกหอพักเอกชนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศริวัฒณ์ เปียงเถิน. (2547). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกพักเอกชนของนักศึกษา. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2550). รายงานการศึกษาสถานภาพโอกาส และลู่ทางการลงทนุ จากไทยไปยงัจีนใน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2557, จาก http://chineseinfo.boi.go.th/NEWCIC/Document/ Private/ Content/files

สรัญญา สุขเพิ่ม. (2556). ความต้องการของนิสิตต่อการบริการด้านหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงาน การวิจัย. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หัสดินทร์ เชาวนปรีชา. (2527). หอพักแบบศูนย์ที่พักอาศยัและการศึกษานวัตกรรมเพื่อการพัฒนานักศึกษา. รายงานการสัมมนาการอุดมศึกษาเรื่อง แนวคิดในการพัฒนาการอุดมศึกษา, ภาควิชาการอุดมศึกษา, คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hair, J.R. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27