ความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • สยมพร จิตตั้งสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วรรณรพี บานชื่นวิจิตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ราคาปิด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดย ใช้ข้อมูลราคาปิดรายวันของหลักทรัพย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษาทำการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ตัวแปรหุ่นที่แสดงถึง วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันอังคารหลังจากวัน จันทร์ที่เป็นวันหยุด ส่วนตัวแปรตามได้แก่ ราคาปิดรายวันของหลักทรัพย์ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการ ทดสอบทางสถิติ โดยใช้วิธีการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ณ ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 จากการทดสอบพบว่า ไม่มีตัวแปรอิสระ ใดมีผลต่อราคาปิดของหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือ ราคาปิดของหลักทรัพย์ในอดีตและอนาคตเป็นอิสระต่อกัน หรือหมายความว่าราคาปิด ของหลักทรัพย์ในอดีต และในอนาคตไม่มีผลต่อราคาปิดของหลักทรัพย์ในอนาคต ฉะนั้นตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยจึงเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพในระดับต่ำ ทั้งนี้การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระดับกลางและระดับสูง

References

ฐานัสต์ อานนท์กิจพานิช. (2552). การทดสอบประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 174-181.

พรจิตรา จวบฤกษ์เย็น และ ธนโชติ บุญวรโชติ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณซื้อขายหลักทรัพย์ ของนักลงทุนแต่ละประเภทและอัตราผลตอบแทนจากดัชนีหลักทรัพย์บนตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 34(1), 60-76.

เรวัต วงค์การุณย์. (2545). การทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย แบบบจำลอง ARIM. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

วิชญาดา ถนอมชาติ. (2551). การศึกษาความผิดปกติของผลตอบแทนในเดือนมกราคมของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณรพี บานชื่นจิตร และ สุนิสา ชูชื่น. (2556). ความมีประสิทธิภาพของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 33(1), 68-80.

ศุภวัฒน์ วัฒน์ธนปติ. (2555). ผลกระทบการส่งผ่านนโยบายทางการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อ ราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: การทดสอบในมิติความมีประสิทธิภาพของ ตลาด. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Banchuenvijit, W. (2008). Investment Philosophy of Warren E. Buffett Versus Principle and Theory of Finance. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 28(1), 246-255.

Das, S. and Arora, V. (2007). Day of the Week effect in NSE stock Returns. New Delhi: International Management Institute.

Dicle, M.F. and Levendis, J. (2010). Day of The Week Effect Revisited: International Evidence. Journal of Economics and Finance, 38(3), 407-437.

Fama, E.F. (1991). Efficient Capital Markets: II. The Journal of Finance, 46(5), 1575–1617.

Jarrett, J.E. and Kyper, E. (2006). Capital Market Efficiency and the Predictability of Daily Return. Applied Economics, 38(6), 631-636.

Kim, J.H. and Shamsuddin, A. (2008). Are Asian Stock Markets Efficient? Evidence from New Multiple Variance Ratio Tests. Journal of Empirical Finance, 15(3), 518-532.

Latham, M. (1986). Informational Efficiency and Information Subsets. The Journal of Finance, 41(1), 39-52

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27