การศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล ภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ส่งออกตลาดจีน, การส่งออกทุเรียน, ทุเรียนไทยไปจีน

บทคัดย่อ

งานศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของผู้ประกอบการส่งออกต่อปัจจัยที่ ส่งผลต่อการส่งออกทุเรียนไทยไปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการวิจัยโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากการศึกษาเอกสาร และใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ตามรายชื่อผู้ส่งออกในบัญชีของกระทรวงพาณิชย์ กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์จำนวนที่ร้อยละ 20 ของประชากร และใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ลักษณะของคำถามในแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามเทคนิคของของลิเคิร์ท (Likert Technique) สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัย ที่ศึกษาพิจารณาโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของประเทศของไมเคิล อี. พอร์ตเตอร์

ผลการศึกษา พบว่า ด้านปัจจัยการผลิต ประเทศไทยมีศักยภาพด้านพื้นที่เพาะปลูกและการผลิต ผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนไปตลาดประเทศจีนมีระดับทัศนคติเฉลี่ยมากที่สุดในปัจจัยด้านอุปสงค์ โดยในเรื่องภาวะตลาดและธุรกิจ มีระดับทัศนคติมากที่สุด ทั้งในประเด็นความต้องการของตลาด และประเด็นแนวโน้มการเติบโตของตลาด สำหรับปัจจัยด้านกลยุทธ์ โครงสร้าง และสภาวะการแข่งขัน และปัจจัยด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือสนับสนุน มีระดับทัศนคติเฉลี่ยมาก นอกจากนี้ยังสะท้อนให้ เห็นว่าการแข่งขันจากประเทศอื่นเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดในจีนมีสูงขึ้น ควรที่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมี มาตรการสนับสนุนเพื่อสร้างความสามารถเชิงการแข่งขันของผู้ประกอบการส่งออกไทย

References

กรมการค้าต่างประเทศ. (2553). สถานการณ์การค้าทุเรียน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=402&ctl=DetailUserContent&mid=785&contentI D=1934

กระทรวงพาณิชย์. (2556). Thailand Trading Report. สืบค้นเมื่อ 17 พ ฤษภาคม 2556, จาก http://www.ops3.moc.go.th/infor/menucomth/stru1_export/export_topn_country/ report.asp

คมชัดลึกออนไลน์. (2554). เส้น R3 สู่การส่งออกผลไม้ไทย. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.komchadluek.net

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2551). การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ: ทฤษฎี และ กลยุทธ์ทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ด่านศุลกากรอรัญประเทศ. (2556). การค้าชายแดน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.arancustoms.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=570872

ธนาคารกสิกรไทย. (2556).ข้อมูลประเทศจีน: ระบบเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.kasikornbank.com/ChinaTrade/ChinaInformation/ChinaOverview/EconomicSy sSutuation/Pages/EconomicSysSutuation.aspx

ธนิฏฐา มณีโชติ. (2554). อุปสรรคและปัญหาในการส่งออก ผัก และผลไม้ไทยไปจีน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก www.goldenworld-inter.com/index.php?option

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน นครเซี่ยงไฮ้. (2556). สถิติการค้าไทย-จีน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/thai-china/trade- statistics/index.php? ELEMENT_ID=12369

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2556). การส่งออกทุเรียนไปประเทศจีน. สืบค้น เมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก www.acfs.go.th/acfsboards/detail.php?id=336

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). ข้อมูลผลไม้: ทุเรียน. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2556, จาก http://www.oae.go.th/fruits/index.php/durian-data

Porter, M.E. (1990). The Competitive Advantage of Nations: With a New Introduction. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27