การศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย

ผู้แต่ง

  • นุจรินทร์ ตมกลาง สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ดวงพร จันทร์ดี สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การตรวจสอบแบบไม่ทำลาย, การพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่กลุ่มธุรกิจการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย จำนวน 222 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Chi Square ด้วยวิธีของ เพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการหาความแตกต่างใช้การทดสอบรายคู่ Scheffe Analysis

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งมีรูปแบบองค์กรประเภทบริษัท จำกัด โดยธุรกิจมีระยะเวลาดำเนินกิจการระหว่าง 6 ถึง 10 ปี ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน สำหรับสภาพปัญหาระหว่างการทำ งานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย พบว่าปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานของบุคลากรด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลายส่วนใหญ่ คือ ผู้ปฏิบัติการตรวจสอบแบบไม่ทำลายขาดคุณสมบัติโดยผู้ปฏิบัติการตรวจสอบแบบไม่ทำลายขาด ทักษะทางความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน และมีความต้องการให้มีการพัฒนาและสนับสนุนจาก เจ้าของกิจการโดยการจัดการฝึกอบรม และการส่งเสริมการทำงาน

References

ดนัย เทียนพุฒ. (2545). การบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: บริษัท ดี เอ็น ที คอนซัล แตนท์จำกัด.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจยัและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

Esuaerdo, A.C. (2012). Market Analysis for a Long Range Ultrasonic Inspection Program of the Enterprise Areva. Masterarbeit, Fachhochschule Ansbach.

Farley, J.M., Wessel, H., and Thompson, J.R. (2008). Progress Report on the Development of EFNDT Guideline’s for an Overall NDT Quality Management System. 3 rd International NonDestructive Testing Symposium and Exhibition held in Istanbul, Turkey, April 17-19, 2008, UCEAT Chamber of Metallurgical Engineers.

Prateepasen, A., Srinang, M., and Noypitak, M. (2008). Status of the Thai Society for Nondestructive Testing and NDT in Thailand. 17th World Conference on Nondestructive Testing held in Shanghai, China, October 25-28, 2008, International Committee for NonDestructive Testing.

Zahirian, S. (2011). Evaluating Non-Destructive Testing (NDT) Methods Used for the Inspection of Flowlines on Offshore Production Facilities. Master’s Thesis, University of Stavanger, Norway.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27