การศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสำนักงานในกลุ่มเจเนอเรชั่นวายภายใต้ กลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทย

ผู้แต่ง

  • ณิชาภา เทียมทิพร สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สุดธิดา ขำพวง สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, เจเนอเรชั่นวาย, กลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการทำงานของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทยในปัจจุบัน 2) ศึกษาระดับความสำคัญของรูปแบบการ พัฒนาบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนไทย โดยทั้ง 2 ข้อ จำแนกตามสถานภาพทั่วไปของธุรกิจ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการทำงานของบุคลากรกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย กับสถานภาพทั่วไปของธุรกิจ และ 4) เปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรในองค์กร กับสถานภาพทั่วไปของธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าของกิจการ หรือฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) ในกลุ่มสมาคมอุตสาหกรรมไม้ และเครื่องเรือนไทย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 150 บริษัท ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์จากค่า Chi Square ด้วยวิธีเปียร์สัน และ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

 ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการทำงานแบบมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงชอบงานที่ท้าทาย และมีเป้าหมายที่ชัดเจน คิดนอกกรอบ และทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ชอบทำงานเป็นทีม มีความกระตือรือร้นในการตอบคำถาม และการแสดงความคิดเห็นรวมไปถึงเวลารับมอบหมายงาน ซึ่งกลุ่มธุรกิจนี้ มีระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากร ด้านการมอบหมายงานอยู่ใน ระดับมากที่สุด และด้านอื่นๆ อยู่ในระดับมาก รวมถึงมีลักษณะการทำงาน และรูปแบบการพัฒนาบุคลากรในองค์กร มีความสัมพันธ์กับสถานภาพทั่วไปของธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ฉัตรชาญ ทองจับ. (2552). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะแรงงานในสถานประกอบการ. วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ดวงใจ ศรลัมพ์. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรัก ความมุ่งมั่น และความ ปรารถนาที่จะท างานเพื่อองค์กรอย่างเต็มความสามารถ: กรณีศึกษา บริษัท ปนู ซีเมนต์ไทย (แก่ง คอย) จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรชัย ศักดิ์สกุล พรชัย. (2554). การประเมินสภาพเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยเปรยบเทียบคู่แข่งในอาเซียน. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการงานวิศวกรรม, มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

พิสมัย เสือเฒ่า. (2553).แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนของสำนักงาน ประจำศาลจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เยาวลักษณ์ โพธิดารา. (2554). การจัดการศึกษาทางการพยาบาล: สำหรับนักศึกษา Generation Y. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(2), 61-69.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (2556). ทิศทางอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทย. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2557, จาก http://www2.oie.go.th/GWoods

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27