ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความภักดีต่อองค์กรกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

ผู้แต่ง

  • คนางค์ ภูถมดี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ความพึงพอใจ, ความภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้นี้เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความภักดีต่อองค์กร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และความภักดี ต่อองค์กรกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

  1. ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัด มหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.66) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ( gif.latex?\bar{X} = 3.75) ด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคล ( gif.latex?\bar{X} = 3.72) ด้านความมั่นคงในงาน ( gif.latex?\bar{X} = 3.72) ด้านความก้าวหน้า ( gif.latex?\bar{X} = 3.67) ด้านการปกครองบังคับบัญชา ( gif.latex?\bar{X}= 3.65) ด้านสภาพการทำงาน ( gif.latex?\bar{X} = 3.64) ด้านเงินเดือน ( gif.latex?\bar{X} = 3.63) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ( gif.latex?\bar{X} = 3.62) ด้านความรับผิดชอบ ( gif.latex?\bar{X} = 3.60) และด้านนโยบายและการบริหารงาน ( gif.latex?\bar{X} = 3.59) ตามลำดับ

  2. ระดับความภักดีต่อองค์กรของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.68) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านความภักดีต่อองค์กรด้านจิตใจ ( gif.latex?\bar{X} = 3.70) ด้านความภักดีต่อองค์กรด้านบรรทัดฐาน ( gif.latex?\bar{X} = 3.69) ด้านความภักดีต่อองค์กรด้านความคงอยู่ ( gif.latex?\bar{X} = 3.66) และด้านความภักดีต่อองค์กรด้านพฤติกรรม ( gif.latex?\bar{X} = 3.65) ตามลำดับ

  3. ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัด มหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.90) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน ( gif.latex?\bar{X} = 3.93) ด้านความพอใจของทุกฝ่าย ( gif.latex?\bar{X} = 3.90) ด้านการจัดหาและใช้ปัจจัยทรัพยากร ( gif.latex?\bar{X} = 3.89) และด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ ( gif.latex?\bar{X} = 3.87) ตามลำดับ

  4. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดมหาสารคามอยู่ในระดับปานกลาง (rxy= .470) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  5. ความภักดีต่อองค์กรมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับปานกลาง (rxy= .536) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

โกวิทย์ นนทะแสน. (2542). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรแขวงการทาง สังกัดสำนักทางหลวงที่ 5 (ขอนแก่น). การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ขะธิณยา หล้าสุวงษ์. (2545). ความสมัพนัธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะผู้นำบารมีของหัวหน้าหอผู้ป่วยความก้าวหน้าในอาชีพ ความจงรักภกัดีต่อองค์กรของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลชุมชน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชื่น สุขศิริ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2548). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดวงพร พาหุลรัตน์ และ กฤช จรินโท. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในงาน ความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง. สยามวิชาการ, 14(1), 53 – 72.

ถวัลย์ เอื้อวิศาลวรวงศ์. (2547). ความจงรักภักดีต่อองค์การ: กรณีศึกษาเฉพาะพนักงานทั่วไปบริษัท เบทาโกร อโกรกรุ๊ป จำกัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทิพยา กิจวิจารณ์. (2549). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ทิพวรรณ ศิริสมภพรมย์. (2553). การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล: แนวทางสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน เล่ม 5. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2548). การส่งเสริมประสิทธิภาพในส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

ธัญญา ผลอนันต์. (2547). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Score Card และ Performance Indicators. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารทิพย์ ศุขสายชล. (2546). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ดีเอชแอล อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สหมิตรออฟเซต.

มาโนชน์ จันทร์เกตุ. (2549). ประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กรบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอเมืองมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชนี ตรีสุทธิวงษา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความจงรักภักดีต่อ องค์กร และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิชัย แหวนเพชร. (2548). มนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ธรรมกมล.

วิทยา ด่านธำรงกูล. (2546). การบริการ. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดุเคชั่น.

วิเชียร วิทยอุดม. (2551). พฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

ศนิกานต์ ศิริศักดิ์ยศ. (2548). ความจงรักภักดีต่อองค์กร ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานระดับปฏิบัติการ สายงานบริการลูกค้า บริษัท ทีเอ ออเร็นจ์จำกัด. ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). สถิติพื้นฐานเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุรพงษ์ ภิยโยภาพ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการบริหาร, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

หทัยรัตน์ ตันสุวรรณ. (2550). ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ความจงรักภักดีต่อองค์กร และบรรยากาศใน องค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อุชุมพร แก้วขุนทด. (2550). ความไวว้างใจในผู้นำองค์กร ความไว้วางใจภายในองค์กร และความจงรักภักดีต่อองค์กรที่มีผลต่อพฤติกรรมและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เนตบีเคเค จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Herzberg, F. et. al. (1959). The Motivation to Work (2nd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27