การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานแท่งยางปูพื้นในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พิมพาภรณ์ วงศ์รัตนพนธ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • ฆนัทนันท์ ทวีวัฒน์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
  • นรารัก บุญญานาม ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

คำสำคัญ:

การศึกษาความเป็นไปได้, แท่งยางปูพื้น

บทคัดย่อ

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงงานแท่งยางปูพื้นในจังหวัดระยองมีวัตถุประสงค์ การศึกษาเพื่อ (1) สำรวจสภาพทั่วไปของตลาดแท่งยางปูพื้นในภูมิภาคตะวันออกและจังหวัดระยอง (2) ศึกษารูปแบบและทางเลือกทางด้านเทคนิคของโครงการ และ (3) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึก ส่วนข้อมูลทุติยภูมิได้ จากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ เครื่องมือ ทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิอัตราผลตอบแทนภายใน อัตราผลตอบแทนภายใน ที่มีการปรับค่าแล้ว ดัชนีกำไร และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยนผลการศึกษาพบว่าโรงงานแท่งยางปูพื้นมีกำลังการผลิตที่เหมาะสมเท่ากับ 30,000 ตารางเมตรต่อปี เทคโนโลยีที่เหมาะสมคือการขึ้นรูปโดยใช้ แม่พิมพ์แบบกดอัดเมื่อกำหนดอายุโครงการ 11 ปี ในกรณีที่ไม่ขอรับและไม่ขอรับสิทธิประโยชน์จากการ ส่งเสริมการลงทุน สามารถคำนวณ อัตราคิดลดได้ ที่ 10.73 และ 11.71มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 29,374,006 บาทและ 33,239,582 บาท อัตราผลตอบแทนภายในโครงการเท่ากับร้อยละ 23.55และ 26.37 อัตราผลตอบแทนภายในโครงการที่มีการปรับค่าแล้วเท่ากับร้อยละ 16.68 และ 18.31 ดัชนีกำไรเท่ากับ 1.78และ 1.88 ตามลำดับ แสดงว่าโครงการมีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน พบว่าผลตอบแทนลดลงได้มากที่สุดเท่ากับร้ อยละ 16.03 ต้นทุนรวมสามารถเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดร้อยละ 46.82 ต้นทุนในการลงทุนสามารถเพิ่มขึ้นได้มากที่สุดร้อยละ 88.03 ต้นทุนในการดำเนินงานสามารถเพิ่มขึ้นได้มาก ที่สุดร้อยละ 24.39 ตามลำดับ

 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ปี 2555/59. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2558, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7100

จุไร ทัพวงษ์ วิชญะ นาครักษ์ วิโรจน์ นรารักษ์ สมศกัดิ์มีทรัพย์หลาก และสุภาสินี ตันติศรีสุข. (2555). การวิเคราะห์โครงการและแผนงาน (Project and Program Analysis). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ผู้จัดการ. (2558).แผ่นยางปูสนามฟุตซอลทางออกชาวสวนยาง แปรรูปเพิ่มรายได้. สืบค้นเมื่อ12 พฤศจิกายน 2558,จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000091675

สถาบันวิจัยยาง. (2558). สถิติยางไทย. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558,จาก http://www.rubberthai.com/statistic/stat_index.htm

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). จำนวนโรงเรียนจำแนกรายเขตพื้นที่การศึกษา. สืบค้นเมื่อ22 กันยายน 2558, จาก http://doc.obec.go.th/onwebcheck2552/report1spt.php

ศิริศักดิ์ ทิพย์ทวีชาญ. (2550). การวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หฤทัย มีนะพันธุ์. (2550). หลักการวิเคราะห์โครงการ: ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการ. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

องค์การบริหารส่วนจังหวัด. (2558). ข้อมูล อบต. ในจังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2558, จาก http://www.tambol.com/county/county_tambol.asp?pid=21

Koh, A., Ang, S.K., Brigham, E.F., and Ehrhardt, M.C. (2014).Financial Management Theory and Practice(An Asia ed.). Singapore: Cengage Learning Asia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27