การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กมล สงบุญนาค สาขาเทคโนโลยีการบริหาร คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ชัยยุทธ ชิโนกุล สาขาเทคโนโลยีการบริหาร คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, อำเภอเชียงของ, การตลาดเชียงของ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 273 ตัวอย่าง โดยได้ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีทุนจดทะเบียนของกิจการอยู่ที่ 100,000-500,000 บาท ดำเนินกิจการมาแล้ว 6-10 ปี และใช้เงินทุนส่วนตัวในการลงทุนดำเนินกิจการ มีรายได้ในการดำเนินกิจการ เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 50,000-100,000 บาท โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือแผ่นพับ เป็นสื่อโฆษณา และใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เข้ามาใช้ในการดำเนินงานของกิจการ

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอกโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นต่อการมีนโยบายการส่งเสริมการค้าของนักการเมืองท้องถิ่นต่อผู้ประกอบการในพื้นที่ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นต่อความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการอยู่ในระดับน้อยที่สุด ในส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่า ผู้ประกอบการมีความ คิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านกระบวนการอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริม การตลาด ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพอยู่ในระดับมาก และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ประกอบการที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ รายได้เฉลี่ย ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

เจริญ วาริพันธน์. (2550). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการขนส่งสินค้าเกษตรด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ทางรถไฟ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดลฤดี จันทร์แก้ว และคณะ. (2557). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคสินค้าและบริการของไทยตามแนวชายแดนไทย ลาว กัมพูชา. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 4(7), 102-117.

ผ่องพรรณ สุวรรณรัตน์. (2551). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดของร้านค้าปลีกในเขตเทศบาลเมือง พะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราช ภัฏเชียงราย.

มัทวินา ยวนฮี. (2550). ปัญหาในการประกอบธุรกิจการค้าชายแดนไทย-ลาวในตลาดช่องเม็ก อำเภอ สิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี.

วิสิฐ วงษ์เขียว. (2551). การศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดของสวน สนุกไทย: กรณีศึกษา สวนสยาม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมการค้าต่างประเทศ. (2558). สถิติการนำเข้า-ส่งออกของ ไทย. สืบค้นเมื่อ15 กรกฏาคม 2558, จาก http://www.dft.go.th /Default.aspx?tabid=164

สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเชียงของ. (2557). ทิศทางการดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัด เชียงราย. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2559,จาก www.dopachiangrai.com/ทิศทาง/?download=137

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27