นโยบายจ่ายหุ้นปันผลแบบกำหนดสัญญาสำหรับผู้ประกอบการ

ผู้แต่ง

  • สุรชัย ภัทรบรรเจิด ภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการ, หุ้นปันผล, นโยบายจ่ายหุ้นปันผลแบบกำหนดสัญญา, เศรษฐกิจตกต่ำ

บทคัดย่อ

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ทำให้อยู่ในภาวะที่ขาดทุน และส่งผลต่อผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นกับเจ้าของกิจการเหล่านี้ และทำให้ผู้ถือหุ้นไม่ได้รับปันผลจากการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถจ่ายปันผลได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนในด้านนโยบายการจ่ายปันผลที่จะทำให้ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อกิจการ และยังคงถือหุ้นต่อไปในระยะยาว ผลการศึกษาจากงานวิจัยและบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับการปันผลทั้งในและต่างประเทศปรากฏว่า หุ้นปันผลเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโดยในระยะยาว

ผลการศึกษาพบว่า 1) หุ้น ปันผลจะให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาด 2) กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบ ด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงจะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนรวมสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนต่ำ และ 3) ผลตอบแทนจากปันผลสูงกว่า ผลตอบแทนในพันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงินคลังและตราสารเงินฝากในตลาดเงิน ดังนั้น หุ้นปันผลจึงถือเป็นอีก ทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมและน่าสนใจอย่างยิ่งในการลงทุนระยะกลางและระยะยาว

นโยบายหุ้นปันผลแบบกำหนดสัญญา เป็นแนวคิดใหม่สำหรับผู้ประกอบการ อันเป็นนโยบายที่จะช่วยให้ราคาหุ้นไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอจ่ายปันผลในช่วงวิกฤติการณ์ต่างๆ โดยมีข้อดีที่สำคัญ อาทิเช่น ผู้ประกอบการสามารถนำเงินปันผลไปลงทุนหรือขยายกิจการได้ต่อเนื่อง ช่วยลดภาระหนี้สินระยะสั้นและระยะกลาง ลดภาระการจ่ายปันผลให้กับผู้ประกอบการและช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาสภาพคล่องของกิจการและดำรงกิจการอยู่รอดไปได้ในช่วงเวลาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น

References

ชูเกียรติ วชิรศรีสุนทรา. (2554). การตอบสนองของราคาหลักทรัพย์ต่อการประกาศจ่ายเงินปันผลของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นริศรา นันตาภิวัฒน์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVA) ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ และการจ่ายเงินปันผล กรณีศึกษา บริษัทในกลุ่มธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์. งานวิจัย โครงการปริญญาโททางการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นลินี เวชวิริยกุล. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรม เกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

พัดชา จุนอนันตธรรม และ สุมิตรา ตั้งสมวรพงษ์. (2555). หุ้นปันผล: ขุมทรัพย์ของการลงทุน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

มัลลิกา ปวะบุตร. (2558). ผลกระทบของนโยบายเงินปันผลต่อความผันผวนของราคาหุ้นในตลาดทุน. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.econ2014.nida.ac.th/main//images/uniform/jsnuniform_uploads/3/201602102 158th22_6631585446593_5620313003.pdf

วราลี ทองพุ่มพฤกษา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์และการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน หมวดธนาคาร. การศึกษาเฉพาะบุคคล บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุดธิดา ตรีตรง. (2553). ศึกษาผลกระทบจากการประกาศจ่ายเงินปันผลที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุพิชชา สวงขันธ์. (2558). พฤติกรรมการจ่ายปันผลและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรม การจ่ายปันผลของ บริษัทจดทะเบียนในตลาด MAI. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559,จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/42121/34790

Ang, J.S. (1987) . Do Dividends Matter? A Review of Corporate Dividend Theories and Evidence. New York: Salomon Brothers Center for the Study of Financial Institutions, New York University.

Baskin, J.B. and Miranti, P.J. (1997). A History of Corporate Finance. New York: Cambridge University Press.

Krishnamsetty, M. (2010). High Dividend Stocks - Can They Beat 10-Year Bonds or the Stock Market?. Retrieved October 30, 2011, from http://www.insidermonkey.com/blog/canhigh-dividendstocks-beat-10-year-bonds-or-the-stock-market-369/

Lintner, J. (1962). Dividends, Earnings, Leverage, Stock Prices and Supply of Capital to Corporations. The Review of Economics and Statistics, 44(3), 243-269.

Miller, M.H. and Modigliani, F. (1958). The Cost of Capital, Corporation Finance and the Theory of Investment. The American Economic Review, 48(3), 261-297.

Morningstar. (2011). Income or Growth? Why It Pays to Look for the Best Total Return. Retrieved October 30, 2011, from http://www.asx.com.au/resources/investor-updatenewsletter/income-orgrowth.htm

Siegel, J.J. (2010). Scoop Up Dividends. Retrieved May 30, 2011, from http://www.kiplinger.com/columns/goinglong/archives/scoop-up-dividends.html

Williams, A.D., Saryan, J.A., and Yan, L.Y. (2011). Dividend Investing: Favorable Long-term Opportunities for Total Return and Income. Retrieved October 30, 2011, from http://funds.eatonvance.com/Dividends.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27