องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
  • เอกภพ มณีนารถ ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาด, วัยรุ่น, พฤติกรรมการซื้อ, ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “องค์ประกอบปัจจัยทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบปัจจัยทาง การตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้คือ วัยรุ่นอายุระหว่าง 15 – 24 ปี ต้องเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครประมาณ 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิธีการคิดค่าร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการ วิเคราะห์ปัจจัยโดยการสร้างตัวแปรใหม่ของกลุ่มตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของปัจจัยทางการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมมี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านสินค้า ตราสินค้า และ บรรจุภัณฑ์ 2) ปัจจัยการส่งเสริมการตลาดและวิธีการชำระเงินที่หลากหลายรูปแบบ 3) ปัจจัยด้านราคาเหมาะสมและหาซื้อได้สะดวก

References

กรมการปกครอง. (2558). จำนวนประชากรแยกรายอายุ กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559, จาก stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php

ณัฐนิชา นิสัยสุข. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ ผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2552). Top 10 สินค้ามาแรงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559, จาก http://www.ryt9.com/s/prg/762863

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

ธัญปวีณ์ รัตนพงศ์พร. (2553). แบบจำลองพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ผู้บริโภค. ดุษฏีนิพนธ์ สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปวีณ์กร แก้วบุตร. (2556). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา. แบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มันทนาภรณ์ พิพิธหิรัญการ. (2554). ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมแรง ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. เอกสารงานประชุมวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Week ประจำปีการศึกษา 2553 จัดเมื่อ 25 มีนาคม 2554, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิเคราะห์ข้อมูลวิจยั 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สุดารัตน์ กันตะบุตร. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคใน จังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2553). ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2559, จาก http://siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR11.pdf

อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์. (2557). วัยรุ่นไทยกับ Green Marketing. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2559, จาก http://www.greenshopcafe.com/mobi/greennewss.php?id=152

Assarut, N. and Srisuphaolarn, P. (2008). Measuring Environmentally Friendly Consumption: An Exploratory Research. Chulalongkorn Business Review, 30(3-4), 145-156.

Bergin–Seers, S. and Mair, J. (2009). Emerging Green Tourists in Australia: Their Behaviors and Attitudes.Tourism and Hospitality Research, 9(2), 109-119.

Bridget, M. and Antonis, C.S. (1995). Marketing Intelligence and Planning. Bingley: Emerald Group Publishing Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27