ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ วุฒิกนกกาญจน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัญหาและอุปสรรค, การจัดทำบัญชี, สำนักงานบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ความรู้ วิชาชีพบัญชี ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชี การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลสำนักงานบัญชี การใช้ความรู้วิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชี จำนวน 158 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทยมีความคิดเห็นในการใช้ความรู้วิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไป หาน้อย คือ ด้านการทำบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการวางระบบบัญชี อีกทั้งพบว่า ความคิดเห็น ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านมาตรฐานการบัญชี ด้านภาษีอากร ด้านลูกค้า นอกจากนี้ได้ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสำนักงานบัญชี และการใช้ความรู้วิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ที่มีผลต่อปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชี พบว่า อายุที่แตกต่างกันมีผลในภาพรวม ด้านลูกค้า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งประสบการณ์การทำบัญชียังมีอุปสรรคในส่วนลูกค้า การใช้มาตรฐานการบัญชี ขณะที่คุณวุฒิการศึกษาทางบัญชีที่แตกต่างกันก็ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ส่วนการใช้ความรู้ วิชาชีพบัญชีมีผลต่อปัญหา และอุปสรรคในการจัดทำบัญชี โดยด้านการบัญชีบริหารด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี มีผลต่อการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีมากที่สุด

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชี ดังนี้ 1) ด้านลูกค้า ควรจัดเตรียมเอกสารมาให้ครบ จัดหมวดหมู่เอกสารให้ถูกต้อง และให้ความสำคัญต่อเอกสารประกอบการจัดทำบัญชีเพื่อยื่นงบการเงินและเพื่อเสียภาษีอากร 2) ด้านมาตรฐานการบัญชี เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีมีการพัฒนาตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ควรศึกษาติดตามการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการบัญชีอย่างสม่ำเสมอ 3) ด้านภาษีอากร ควรปรับปรุงงานด้านภาษีให้ทันต่อเหตุการณ์และศึกษาแนวโน้มของภาษีไม่ให้มีช่องว่าง 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรเพิ่มอุปกรณ์ให้มากขึ้น และโปรแกรมควรมีความทันสมัย 5) ด้านการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีควรมีการอบรมความรู้ วิธีการทางบัญชี หลักวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางระบบบัญชีได้อย่างรัดกุม

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). ทะเบียนรายชื่อสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.dbd.go.th/main.php?filename=index

________. (2557). สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.dbd.go.th>ewt_news

________. (2557). สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=2636&file name=index

จันทิมา สุขุตมตันติ. (2554). การศึกษาปัญหาในการปฏิบัติงานด้านบัญชีบริหารของผู้จัดการฝ่ายบัญชี กรณีศึกษาในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จินจิรา สันติชัยรัตน์. (2549). ปัญหาของผู้ทำบัญชีในจังหวัดเชียงใหม่ในด้านภาษีเงินได้นิติบุคคลและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชัดตา รัตนานนท์. (2548). ปัญหาและทางแก้ปัญหาส าหรับระบบบัญชีของวัดไทยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธารี หิรัญรัศมีและคณะ. (2559). การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ประภัสสร กิตติมโนรม. (2551). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการให้บริการของส านักงานบัญชีในจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ปริยาภรณ์ ศุภธนาทรัพย์. (2547). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการจัดทำบัญชีของสำนักงานสหมิตรการบัญชี. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

มาริษา ทิพย์อักษร. (2554). ปัญหาของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

วัชรี ฮั่นวิวัฒน์. (2554). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริวรรณ สุ่มเล็ก. (2546). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กรณีศึกษา ธุรกิ จขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). พระราชบัญญัติการบัญชีและวิชาชีพบัญชี. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.accsol.co.th/act.html

________. (2559). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558). สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2559,จาก http://www.jap.tbs.tu.ac.th>files>Jap30>full

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2557,จาก http:// www. ldd.go.th>th-TH>

สุทิติ ขัตติยะ และวิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2554). แบบแผนการวิจัยและสถิติ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2544). การพัฒนาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดี.ดี.บุ๊คสโตร์.

สุภาพร เพ่งพิศ. (2553). ปัญหาในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

DuBrin, A.J. (1984). Foundations of Organizational Behavior: An Applied Perspective. New Jersey: Prentice-Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29