ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารลูกค้าสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์

ผู้แต่ง

  • วันวิสาข์ หีบแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์, คุณภาพการให้บริการ, ธนาคารอาคารสงเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) การบริหารลูกค้ สัมพันธ์ 2) คุณภาพการให้บริการ และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารลูกค้าสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 368 คน โดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบอังเอิญ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

  1. การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีระดับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.60) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการสร้างฐานข้อมูลลูกค้า ( gif.latex?\bar{X} = 3.62) ด้านด้านการกำหนดโปรแกรมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ ( gif.latex?\bar{X} = 3.61) ด้านการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ( gif.latex?\bar{X} = 3.60) และด้านการรักษาลูกค้า ( gif.latex?\bar{X} = 3.58) ตามลำดับ

  2. คุณภาพการให้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X} = 3.86) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ( gif.latex?\bar{X} = 3.90) ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ ( gif.latex?\bar{X} = 3.87) ด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ( gif.latex?\bar{X} = 3.84) ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ( gif.latex?\bar{X} = 3.84) ด้านการให้บริการอย่างทันเวลา ( gif.latex?\bar{X} = 3.83) ตามลำดับ

  3. การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับ คุณภาพการให้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในระดับปานกลาง ( rxy = 0.413) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งหมายความว่าเมื่อเพิ่มระดับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์เข้าไป 1 ส่วน จะมีผลให้คุณภาพการให้บริการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เพิ่มขึ้น .413 หรือคิดเป็นร้อยละ 41.30

References

กนกวรรณ เหมือนโค้ว. (2550). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการธนาคารธนชาติจำกัด (มหาชน) สาขาย่อยคาร์ฟูบางบอน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

จันทิรา สีทอนสุด. (2550). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของผู้จัดการธนาคารออมสิน ในสงักดัสำนักงานภาค 8. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฑานันท์ พันธุมโน. (2549). พฤติกรรมและความคิดเห็นเกี่ยวกบั การบริหารลูกค้าสมัพนัธ์ของบัตรเครดิต ที่ไม่ใช่บัตรของธนาคารของลูกค้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2548). การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉลิมพล เวชวิธี. (2549). ความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการเงินฝากประเภทประจำของธนาคาร อาคารสงเคราะห์ สาขาเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2555). กลยุทธ์การตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธอส. ปี 2555. กรุงเทพฯ: ธนาคารอาคารสงเคราะห์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

ภัทรพล ถาริปน. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศยัของลูกค้าธนาคารอาคาร สงเคราะห์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริการการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิ ล์มและ ไซเท็กซ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29