แนวทางการพัฒนาการให้บริการของอู่ซ่อมรถยนต์มาตรฐานในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • อรนุช พรหมเพศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาอู่ซ่อมรถยนต์มาตรฐาน, ส่วนประสมทางการตลาด, การบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้ บริการของอู่ซ่อมรถยนต์ มาตรฐานในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้บริหารของอู่ซ่อมรถยนต์มาตรฐานที่มีประสบการณ์การทำงานเกิน 5 ปี จำนวน 5 อู่วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และนำข้อมูลที่ได้จากการ จด บันทึก มาจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นคำถาม และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการศึกษา พบว่า 1) บริบทการให้บริการอู่ซ่อมรถยนต์มาตรฐานในเขตพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา โดยใช้ ส่วนประสมทางการตลาด 7P’s 2) แนวทางการพัฒนาในการให้บริการของอู่ซ่อมรถ มาตรฐานในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะทำให้ผู้บริหารควรตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานในการจัดซ่อม อาทิเช่น ส่วนประสมทางการตลาดด้านราคาไม่มีผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาในการให้บริการของอู่ซ่อมรถมาตรฐานในเขตพื้นที่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา โดยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาในการให้บริการของอู่ซ่อมรถมาตรฐานในเขต พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มากที่สุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ตามลำดับ

References

กรมการขนส่งทางบก. (2556). รายงานสถิติการจดทะเบียนรถใหม่ป้ายแดง. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2556,จาก http://apps.dlt.go.th/statistics_web/statistics.html

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2556). การตลาดบริการ Services Marketing. กรุงเทพฯ: บริษัท ส. เอเชียเพรส (1989) จำกัด.

ณรงค์ โพธิพฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

นิตยา กัลยาศิริและคณะ. (2555). รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสงขลา ปี 2555. สงขลา: สำนักงานคลัง จังหวัดสงขลา.

มณฑล รัตนพรนภาพันธ์. (2550). การใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ของผู้ใช้รถยนต์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด เชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิศณุ แปงยาแก้ว. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัด เชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อานนท์ วงค์กองแก้ว. (2555). การประเมินส่วนประสมการตลาดบริการของอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งใน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

SCB Economic Intelligence Center (EIC). (2556). การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ ไทย. สืบค้นเมื่อ21 ตุลาคม 2556, จาก https://www.scbeic.com/THA/home

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29