ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ชาวต่างชาติในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน: กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษานานาชาติ

ผู้แต่ง

  • สุรางคณา พรมวิเศษ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, อาจารย์ชาวต่างชาติ, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ชาวต่างชาติในมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิ ก 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนตามทฤษฎี Herzberg การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มประชากรเป็นอาจารย์ชาวต่างชาติของมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชียแปซิฟิก จำนวนทั้งสิ้น 47 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) เมื่อพบ ความแตกต่างทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธี Fisher’s LSD (Least Significant Difference) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่าระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ชาวต่างชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และอาจารย์ชาวต่างชาติที่มีลักษณะด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมี ความพึงพอใจต่อปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยรายข้อพบว่ามีบางปัจจัยย่อยที่มีความพึงพอใจที่แตกต่างกัน

References

กนกพร ชัยประสิทธิ์. (2551). ปัจจยัความต้องการการศกึษาหลักสูตรนานาชาติระดับอุดมศกึษาของนักศึกษาปีที่ 1 มหาวิทยาลัยของรัฐบาล. RMUTT Global Business and Economics Review, 4(1), 11-20.

จันทร์แรม พุทธนุกุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพสระบุรี จังหวัดสระบุรี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐาณิพัทธ์ พรหมศาสตร์. (2545). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มบริษัท ทีโอเอ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ณัทฐา กรีหิรัญ. (2550). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วิริญญา ชูราษี และ สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2554). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(1), 60-74.

ศุภิสรา แพงทอง. (2546). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์วิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สุพจน์ ประชุมทอง และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ปัจจยัที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสถาบันไทย-เยอรมัน. วารสารการเงิน การลงทุน และการบริหารธุรกิจ, 3(4), 32-47.

สมคิด หรรษานิมิตกุล. (2543). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทวิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด: กรณีศึกษาฝ่ายวิศวกรรมจราจรทางอากาศ. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2557, จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/thesis/searching.php

สมยศ นาวีการ. (2543). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บรรณกิจ 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-29