อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทย: ศักยภาพและโอกาส

ผู้แต่ง

  • อริสรา อัครพิสิฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร, ประเทศไทย, ศักยภาพ, โอกาส

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเป็ น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยเป็นภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไทยได้ ให้ ความสําคัญเป็ นลําดับต้นๆ ในการลงทุนและพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยเป็ นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของกระทรวงสาธารณสุขระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2559-2568) อุตสาหกรรม การแพทย์ของโลกมีแนวโน้มเติบโตขึ ้นอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่ามหาศาลซึ่งมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สําคัญ คือ ความต้องการของมนุษย์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ และการพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยภาครัฐบาลในประเทศต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศใน ภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาใต้ ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และยุโรปที่ต้องการเป็ นประเทศปลายทาง สําหรับศูนย์กลางทางการแพทย์ ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในระดับโลก เนื่องจากมีจุดแข็งหลายประการ เช่น การยอมรับในระดับนานาชาติ ความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ ที่เป็ นเลิศ การบริการด้วยไมตรีจิต การประหยัดค่าใช้จ่าย การมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และการ สนับสนุนจากภาครัฐบาล นอกจากนี ้ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรยังสร้างโอกาสให้แก่อุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องหลายด้าน เช่น การท่องเที่ยว การบินและโลจิสติกส์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ยา และวัสดุ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม อนาคตของอุตสาหกรรมการแพทย์ที่ครบวงจรนี้ยังคงมีจุดอ่อนที่ ต้องพัฒนาและมีความท้าทายที่เกิดจากการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่ง ด้วยเหตุนี้การเร่งหาจุดแข็งใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งสําคัญเพื่อเสริมสร้างการแข่งขันในระยะยาว เนื่องจากสิ่งที่เป็นจุดต่างของอุตสาหกรรมใน วันนี้อาจกลายเป็นจุดเหมือนของอุตสาหกรรมในอนาคต

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ. 2560-2569). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). Interview: จับชีพจรนโยบาย “อุตสาหกรรม 4.0”. วารสารอุตสาหกรรม, 5, 6-12.

กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2560). 10 อุตสาหกรรม เป้าหมายกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth). กรุงเทพฯ: สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.

กองสถิติเศรษฐกิจ สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสํารวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สํานักงานสถิติแห่งชาติ.

โครงการสุขภาพของคนไทย. (2558). สุขภาพกาย สุขภาพคนไทย 2558. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชนกพร บุญทริกศิริ. (2560). ประเทศไทยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยกองทัพบก.

ชาคริต ศึกษากิจ. (2559). การเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของประเทศ. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 58(2), 39-51.

ฐานเศรษฐกิจ. (2559, 28-30 มกราคม). “ดันไทยฮับทางการแพทย์เอเชีย ยกประเด็นรัฐช่วยดันสู่ เป้าหมาย”. ฐานเศรษฐกิจ.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์ และ นราศรี ไววนิชกุล. (2559). ความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิง การแพทย์ของประเทศไทย. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(1), 196-215.

ณัฐพล วุฒิรักขจร. (2559). HOT ISSUE: ประเทศไทยกับการพัฒนาเป็น MEDICAL HUB OF ASIA. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.

นุชนาถ จันทราวุฒิกร และ นพพร เรืองวานิช. (2559). ความพร้อมด้านการตลาดและกลยุทธ์ของ โรงพยาบาลเอกชนไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปราโมทย์ นิลเปรม. (2558). ไทยกับการเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาค 2. ใน ประภัสสร์ เทพชาตรี (บรรณาธิการ). (2558). ไทยกับการเป็นศูนย์กลางด้านการบริการสุขภาพ (Medical Hub) ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยศักดิ์ มานะสันต์. (2553). ทศวรรษแห่งวิกฤติ เปลี่ยนพายุฝน เป็นวันฟ้ าใส. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ Bizbook.

ฝ่ายวิจัยนโยบาย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2560). อุตสาหกรรมเครื่องมือ แพทย์ของประเทศไทย (รายงานการศึกษา). กรุงเทพฯ: สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ.

พลพัฒน์ นภาวรานนท์. (2559). อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของคนไทย เพื่อคนไทยและชาวโลก. วารสารส่งเสริมการลงทุน, 27(6), 26-30.

พลพัฒน์ นภาวรานนท์ และ ศิรพันธ์ ยงวัฒนานันท์. (2559). ไทยสานฝันสู่การเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพโลก. วารสารส่งเสริมการลงทุน, 27(4), 11-18.

เรื่องประจําฉบับ วารสารก้าวใหม่ สปสช. (2555). อาเซียนเร่งสร้างหลักประกันสุขภาพเพื่อเป็นฐานการสร้างเศรษฐกิจ.วารสารก้าวใหม่ สปสช., 5(25), 2-5.

วิธาน เจริญผล. (2555). ธุรกิจบริการสุขภาพของไทยจะโตต่อไปอย่างไร? กรุงเทพฯ: SCBEIC.

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์และสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน).

สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้ม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน. กรุงเทพฯ: สถาบันทรัพย์สินทาง ปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มรายได้ดีและ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมการแพทย์ครบ วงจร. กรุงเทพฯ: สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สํานักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมในต่างประเทศ ประจํากรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย. (2561). รายงานพิเศษ: ห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย. เวียนนา ออสเตรีย: กระทรวงอุตสาหกรรม.

สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้. (2560). ธุรกิจบริการด้านสุขภาพในจีนจะมีมูลค่าทะลุ 16 ล้านล้านหยวนในปี 2030. นครเซี่ยงไฮ้: สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้.

สํานักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน). (2561). Thailand’s MICE Industry Report. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). ภารกิจที่ท้าทาย 5 ด้าน. วารสารไทยคู่ฟ้า, 33, 6-11.

Amornvivat, S. (2012, June 20). “Medical Tourism Under Threat”. The Bangkok Post. Centers for Disease Control and Prevention. (2003). Update: Severe Acute Respiratory Syndrome-Worldwide and United States, 2003. MMWR Morbidity and Mortality Weekly Report, 52(28), 664-665.

Deloitte. (2018). Global Health Care Outlook: The Evolution of Smart Health Care. London: Deloitte Touche Tohmatsu Limited.

Horowitz, M.D. (2008). Why in the World Do Patients Travel for Medical Care? Asia Pacific Biotech News, 12(7), 24-28.

International Trade Centre. (2014). Medical and Wellness Tourism: Lessons from Asia. Geneva: ITC Reprographic Service.

Ormond, M. (2003). Neoliberal Governance an International Medical Travel in Malaysia. New York: Routledge.

Wong, K.M., Velasamy, P., and Arshad, T.N. (2014). Medical Tourism Destination SWOT Analysis: A Case Study of Malaysia, Thailand, Singapore and India. Paper in the 4th International Conference on Tourism Research (SHS Web of Conferences Volume 12, 2014) Article Number 01037, EDP Sciences.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-25