กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มไวน์ในร้านไวน์บาร์ แอนด์ เรสเตอร์รองท์ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อนุชิต แสงอ่อน มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาด, พฤติกรรมการดื่มไวน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้การสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัย (1) ส่วนประสมทางการตลาด (2) กลุ่มอ้างอิง (3) ความคาดหวัง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มไวน์(4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มไวน์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวม (5) ศึกษาความพึงพอใจโดยรวมที่ส่งผลต่อความภัคดีต่อการดื่มไวน์

ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่มาดื่มไวน์ในร้านไวน์ไวน์บาร์ แอนด์ เรสเตอร์รองท์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบประชากรที่นับไม่ได้ (Infinite Population) จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน และทดสอบ สมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุนาม (Multiple Linear Regression)

ผลการวิจัย พบว่าส่วนใหญ่ดื่มไวน์ 2– 4 ครั้งต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 45.0 ค่าใช้จ่ายไม่รวมค่าอาหาร อยู่ระหว่าง 3001-5,000 บาทต่อครั้ง โดยเลือกไวน์แดงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 58.3 และนิยม ไวน์จากประเทศอิตาลีมากที่สุด ร้อยละ 39.3 และนิยมดื่มไวน์กับเพื่อนมากที่สุด ร้อยละ 35.3 ส่วนใหญ่ดื่มเพื่อความสนุกสนานร่าเริง ผลการวิเคราะห์ระดับทัศนคติเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นเดียวกัน ส่วนระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิง พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ทุกข้อเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ พบว่า ความคาดหวังจากการดื่มไวน์ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อเช่นเดียวกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดื่มไวน์ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อเช่นเดียวกัน ผล การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความภักดีในการดื่มไวน์ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อ

References

กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม. (2539). คู่มือไวน์(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: Higher Press.

กฤตภาดา เพ็ชรวารี. (2552). พฤติกรรมการบริโภคไวน์ต่างประเทศของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล แม้นจริง. (2550). การส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ : ไดมอลอินบิสสินเน็ตเวิร์ล.

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผูบ้ ริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: Dimond in Business World.

Assael, H. (2004). Consumer Behavior: A Strategic Approach. Boston: Houghton Mifflin.

Bandura, A. (1 9 8 6 ) . Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Blackwell, R.D., Miniard, P.W., and Engle, J.F. (2006). Consumer Behavior (10th ed.). Canada: Thomson South-Western.

Schiffman, L.G. and Kanuk, L.L. (2004). Consumer Behavior (8th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-20