ภาพลักษณ์การบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนกการเงิน ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • นุจนาฏ คันธมาศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สายฝน บูชา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์การบริการ, การตัดสินเลือกใช้บริการ, แผนกการเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนกการเงินคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ2. ศึกษาปัจจัยภาพลักษณ์การบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนกการเงินคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการแผนกการเงินของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้สูตร W.G.cochran  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที ค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสหสัมพันธ์เชิงถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีอายุ และประเภทข้อมูลที่ใช้บริการที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนกการเงินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.50 ส่วนผู้ใช้บริการที่มีเพศ และอาชีพที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนกการเงินไม่แตกต่างกัน ส่วนภาพลักษณ์แผนกการเงินส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนกการเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ได้แก่ ภาพลักษณ์ด้านความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด (ß = .458) รองลงมา คือ ภาพลักษณ์ด้านการดูแลเอาใจใส่ (ß = .351) และภาพลักษณ์ด้านการบริการที่สัมผัสได้ (ß = .278)

References

จักรกฤษ เดชพร. (2563). การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในมุมมองของผู้บริโภค กรณีศึกษา บริษัท

อำพลฟูดส์โพรเซสซิ่ง จำกัด. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ญรัญรัตน์ มณฑีรรัตน์ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). การรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้

บริการผ่านคุณภาพการให้บริการของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.

Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 877-892.

นภัทร ภูนาขาว และทตมัล แสงสว่าง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการงานการเงินและบัญชี ใน

สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 240-253.

ปภาวี บุญกลาง. (2560). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์

การเกษตร กรณีศึกษา สาขาในเขตอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, นครราชสีมา.

ประวีณา เงินทิพย์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชีของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล.

(การค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทฯ.

พงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2560). การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นตรง. วารสารวิจัยและพัฒนา

หลักสูตร, 7(2), 20-37.

มณฑกานต์ ฉิมเกิด และสุธรรม พงศ์สำราญ. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของฝ่ายวิชาการ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(1), 36-51.

สรชัย พิศาลบุตร. (2555). การทำวิจัยในชั้นเรียน เรียนรู้กันได้ใน 5 ชั่วโมง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์.

สัมฤทธิ์ จำนงค์. (2559). ภาพลักษณ์องค์กรและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ

ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

โสรยา สุภาผล, ลัดดาวัลย์ สำราญ และพีรญาณ์ ด้วงช้าง. (2563). ปัจจัยภาพลักษณ์องค์กรและปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่

ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการของผู้ใช้บริการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 32-49.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston : Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

How to Cite

คันธมาศ น., & บูชา ส. (2023). ภาพลักษณ์การบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแผนกการเงิน ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี . วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 4(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/2401