ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชน บ้านในลุ่ม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์

คำสำคัญ:

การใช้สมุนไพร, พฤติกรรม, ทัศนคติ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติในการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนบ้านในลุ่ม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชน บ้านในลุ่ม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จำนวน 113 คน

          ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.5 อายุเฉลี่ย 55.7 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 78.8 อาชีพส่วนใหญ่รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 88.5 รายได้เฉลี่ยคิดเป็น 6,123.30 บาท กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการใช้สมุนไพรรักษาโรคในภาพรวม อยู่ในระดับต่ำ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง

References

กนกกาญจน์ วิชาศิลป์. (2559). การรับรู้ถึงสมุนไพรรักษาโรคของผู้บริโภคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. แก่นเกษตร, 44 (ฉบับพิเศษ 1), 565–570.

กรมการพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

กระทรวงสาธารณสุข. (2542). การสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2540-2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

สัณฐิตาพร กลิ่นทอง. (2559). พฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี. สืบค้น 12 มีนาคม 2562, จาก http://research.pbru.ac.th/PBRUResearch2017/registration/files/17099002698XXXX8_

_192608.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

อุดมพิทยาสรรพ์ เ. (2022). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชน บ้านในลุ่ม อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 1–7. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1457