ตัวแบบการวัดการจัดการศึกษาต่อนโยบายประชารัฐ กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
คำสำคัญ:
การจัดการศึกษา, นโยบายประชารัฐ, สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบทคัดย่อ
สถาบันอุดมศึกษาเป็นแหล่งสร้างบัณฑิตที่เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติ การจัดการศึกษาอย่างไรส่งผลต่อศักยภาพของบัณฑิตและตอบสนองแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของชาติตามนโยบายแห่งรัฐ การวิจัยนี้ จึงมุ่งสำรวจการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเพื่อรองรับนโยบายประชารัฐ อีกทั้งสร้างตัวแบบใหม่ที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการและฝ่ายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันถูกใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการสำรวจพบว่า ตัวแบบการจัดการศึกษานี้มีค่าที่กำหนดไว้ในทฤษฎีระดับที่ยอมรับได้ ด้วยค่าดัชนีไคสแควร์สัมพันธ์ X2/df=1.54 CFI=0.97 GFI=0.94 AGFI=0.90 และ RMSEA=0.051 ประกอบด้วย องค์ประกอบการวางแผนอัตรากำลังและหลักสูตร การมีวิสัยทัศน์ระยะยาว การดำเนินการที่เหมาะสม ความคุ้มค่า และความร่วมมือ ความคล่องตัว องค์ประกอบทั้งหมดของตัวแบบน่าจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาทั้งของภาครัฐและเอกชนต่อไปเมื่อถูกนำไปสำรวจในอนาคต
References
วิชาญ พานิช. (2553). บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการปฏิรูปประเทศไทย. สืบค้น 2 กันยายน 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/372658
สุพรรณี อินทร์แก้ว, อุดม สายะพันธุ์, สุวิมล แม้นจริง และวาสนา เจริญสุข. (2558). บทบาทและการเตรียมความพร้อมของสถาบันการศึกษาต่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 21(1), 308-319.
อังคีร์ ศรีภคากร. (2559). นิยามและประสบการณ์การใช้ Education 4.0 ในการเรียนการสอน. สืบค้น 2 กันยายน 2561, จาก https://www.youtube.com/watch?v=yTgZDU5YF1l
Diamantopoulos, A. & Siguaw, J.A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE Publications, Inc,.
Fitzgerald, Hiram E., et al. (2016). The Centrality of Engagement in Higher Education. Journal of Higher Education Outreach and Engagement, 20(1), 223.
Geory Muller-Christ et al. (2014). The Role of Campus, Curriculum, and Community in Higher Education for Sustainable Development. Journal of Cleaner Production, 62, 134-137.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data analysis; a global perspective (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Rugmai, S., Tachphahapong, S., and Polsaram, P. (2016). Development of Private Higher Education Institutions in Thailand. Journal of Nursing and Education, 9(3), 51-65.
Schumacker, R.E. & Lomax, R.G. (2004). A beginner’s guide to structural equation modeling (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Viphoouparakhot, V., Areesophonpichet, S., and Plosaram, P. (2017). A model of university networks to achieve the mutual benefits of regional development toward ASEAN community. Naresuan University Journals, 10(2), 37-51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.