ความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรสายปฏิบัติการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • เกศราภรณ์ เขียวรอด
  • จเร สิงหโกวินท์

คำสำคัญ:

ความเต็มใจในการสื่อสาร, ภาษาอังกฤษ, บุคลากรสายปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

ความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษมีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ผู้ที่มีความเต็มใจในการสื่อสารจะแสวงหาโอกาสในการสื่อสารภาษาอังกฤษ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและทำความเข้าใจถึงความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรสายปฏิบัติการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ บุคลากรสายปฏิบัติการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 8 คน

ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กรอบแนวคิดในการวิจัยมาจากงานวิจัยของ MacIntyre, et al. (1998) ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากร ได้แก่ ความต้องการในการพัฒนาตนเอง ลักษณะนิสัยส่วนตัว และความไม่มั่นใจในตนเองในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ซึ่งถือเป็นแรงจูงใจส่วนบุคคล เป็นตัวแปรแบบส่วนบุคคล

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2552). กฎบัตรอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: กรมอาเซียน.

กำไลทิพย์ ปัตตะพงศ์. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรี. ภาษาปริทัศน์, 30. สืบค้นจาก http://www.culi.chula.ac.th/publicationsonline/files/article2/CPINbXwoBpSat105426.pdf

Cetinkaya, Y. B. (2005). Turkish college student’s willingness to communicate in English as a foreign language. Ohio: Ohio State University.

Hashimoto, Y. (2002). Motivation and willingness to communicate as predictors of reported L2 use: The Japanese ESL context. Second Language Studies, 20(2), 29-70.

Kang, S. J. (2005). Dynamic emergence of situational willingness to communicate in a second language. System, 33(2), 277-292.

MacIntyre, P. D., Clément, R., Dörnyei, Z., & Noels, K.A. (1998). Conceptualizing willingness to communicate in a L2: A situational model of L2 confidence and affiliation. The Modern Language Journal, 82(4), 545-562.

Riasati, M. J. (2018). Willingness to speak English among foreign language learners: A causal model. Cogent Education, 5. Retrieved from https://doi.org/10.1080/2331186X.2018.1455332

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เขียวรอด เ., & สิงหโกวินท์ จ. . (2022). ความเต็มใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษของบุคลากรสายปฏิบัติการ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 36–43. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1461