ทัศนคติของมัคคุเทศก์ต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ชาญณรงค์ ผาดจันทึก

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, มัคคุเทศก์, การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของมัคคุเทศก์ต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ มัคคุเทศก์ที่ทำงานให้กับบริษัทนำเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งรวมทั้งมัคคุเทศก์อิสระและมัคคุเทศก์ประจำ จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานเป็นแบบนอนพาราเมตริก โดยใช้วิธีของ Mann-Whitney Test

ผลการศึกษาพบว่า มัคคุเทศก์ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 5 ปี มากกว่าครึ่งหนึ่งเคยเข้ารับการอบรมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เคยเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 1-3 ครั้ง ระดับทัศนคติของมัคคุเทศก์ต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้นแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการเห็นความสำคัญในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทัศนคติอยู่ในระดับสูง การทดสอบสมมติฐานพบว่า มัคคุเทศก์ที่มีประสบการณ์การทำงาน  การฝึกอบรม และประสบการณ์ส่วนตัวในการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันมีทัศนคติด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม่แตกต่างกัน

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). หลักสูตรเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 – 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วีไอพี ก็อปปี้ปริ้นท์.

ชัยรัตน์ จุสปาโล. (2561). การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่ชุมชนเกาะหมาก จังหวัดพัทลุง. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยราชมงคลศรีวิชัย.

ประชิต สกุณะพัฒน์, วิมล จิโรจพันธุ์ และอุดม เชยกีวงศ์. (2554). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2558). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 1-14.

ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี.วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 91-101.

ศันสนีย์ วงศ์สวัสดิ์. (2557). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ไทยตามมาตรฐานมัคคุเทศก์ไทย และมาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานวิชาชีพมัคคุเทศก์อาเซียน: กรณีศึกษา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

อุทิศ สังขรัตน์ และธเนศ ทวีบุรุษ. (2558). การจัดการท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์และวิถีชุมชนในเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ภาคใต้. (รายงานการวิจัย). สงขลา: คณะศิลปศาสตร์และคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

ผาดจันทึก ช. (2022). ทัศนคติของมัคคุเทศก์ต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 53–59. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1463