ศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วายูน เอกสกุลไพบูลย์

คำสำคัญ:

ศักยภาพ, การให้บริการ, พนักงานภาคพื้น, สายการบินต้นทุนต่ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยในทัศนะของผู้บริหารและผู้โดยสาร โดยการวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริหารสายการบิน และผู้โดยสาร (2) ความคิดเห็นของผู้บริหารสายการบินและผู้โดยสารต่อการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย (3) ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆที่ไม่เอื้ออำนวยต่อพัฒนาศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย (4) เปรียบเทียบระหว่างความคิดเห็นของผู้บริหารสายการบินและผู้โดยสารต่อศักยภาพของการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ผู้บริหารสายการบินและผู้โดยสาร 2) ผู้บริหารและผู้โดยสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ผู้บริหารสายการบินและผู้โดยสาร 2) ผู้บริหารและผู้โดยสาร ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมจำนวน 400 ตัวอย่าง  ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ (1) ข้อมูลส่วนบุคคลผู้บริหารสายการบินและผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นหญิง มีอายุ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งผู้บริหารระดับต้น เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เพศ อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา อาชีพ และตำแหน่งหน้าที่ มีแนวโน้มในการมองศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยไม่แตกต่างกัน (2) ความคิดเห็นของผู้บริหารสายการบินและผู้โดยสารต่อศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย โดยภาพรวมผู้ให้สัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามมีความมั่นใจในศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่  ด้านความสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันที ด้านการให้บริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้น ด้านความพร้อมของพนักงานต้อนรับภาคพื้น ด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารอย่างถูกต้องและเหมาะสม (3) ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทยตามความเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ปัญหามากที่สุด คือ ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษ

References

กร วงศ์กรวิส. (2559). ความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวไทยต่อบริการ ณ ท่าอากาศยานสุโขทัย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปทุมธานี.

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). ศักยภาพอู่ตะเภาก่อนเป็นเมืองการบิน. สืบค้น 30 ธันวาคม 2562, จาก https://today.line.me/th/v2/article/ศักยภาพอู่ตะเภาก่อนเป็นเมืองการบิน-vnJRxE

ขวัญตา ชิตะวัชร. (2555). ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติต่อการให้บริการของท่าอากาศยานกระบี่ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ทอท.สรุปยอดทราฟิกช่วงปีใหม่ ดอนเมืองผู้โดยสารทะลัก โตสุด 42%. สืบค้น 27 มกราคม 2563, จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1420789222

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). ความท้าทายในการเป็น “ศูนย์กลางทางการบินภูมิภาค” ของประเทศไทย. สืบค้น 27 มกราคม 2563, จาก http://library.dip.go.th/multim6/edoc/2556/21915.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เอกสกุลไพบูลย์ ว. (2022). ศักยภาพการให้บริการของพนักงานภาคพื้นของสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 44–51. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1475