การพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนภาษาจีน ชุดการเรียนพินอินกับครูถิง ถิง
คำสำคัญ:
เอกสารประกอบการเรียน, การสอนภาษาจีน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียนภาษาจีน ชุดการเรียนพินอินกับ ครูถิง ถิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีคุณภาพ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดทองศาลางาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 17 คน รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เอกสารประกอบการเรียนภาษาจีน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Pair t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) เอกสารประกอบการเรียนภาษาจีน ชุดการเรียนพินอินกับครูถิง ถิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.53±0.28 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนอยู่ในระดับมาก
References
กชนันท์ เข็มสกุลทอง, ศาวพา บัวศรี และนุจรีย์ สีแก้ว. (2562). การพัฒนาทักษะการออกเสียง โดยใช้ชุดฝึกการอ่านออกเสียงสัทอักษรพินอิน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนปางศิลาทองศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชการระดับชาติ ครุศาสตร์ศึกษา ครั้งที่ 2, หน้า 21-30. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
กนกวรรณ ทับสีรัก, สุรกานต์ จังหาร และประสพสุข ฤทธิเดช. (2559). การพัฒนาการอ่านออกเสียงภาษาจีนโดยใช้เกมประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21, หน้า 843-851. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
ถวิลจิต ชาตะเวที. (2561). ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง อิฐมอญ โดยใช้การสอนแบบสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านป่าเหมือด อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นภาพร บำรุงศิลป์. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
เบญจอาภา พิเศษสกุลวงศ์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะภาษาจีนแบบบูรณาการโดยใช้บริบทของชุมชน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 131-145.
ปฐมพร ฉิมพาลี, อุทิศ บำรุงชีพ และวิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2562). การพัฒนาชุดการสอนภาษาจีนระดับพื้นฐานโดยประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(3), 127-138.
พรทิพย์ ปริยวาทิต และวิชัย นภาพงศ์. (2559). ผลของการใช้บทเรียนAugmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสโมสร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 27(1), 9-17.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
Fitz - Gibbon & Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park: Sage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.