In Tales Of Southeast Asia's Jazz Age: Filipinos, Indonesians and Popular Culture, 1920-1936.

ผู้แต่ง

  • วิริยะ สว่างโชติ

บทคัดย่อ

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1920 เป็นต้นมาดนตรีแจ๊สได้เป็นที่นิยมในอเมริกา และต่อมากลายเป็นดนตรีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในยุคนั้นดินแดนส่วนใหญ่ยังคงเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ รวมถึงสหรัฐอเมริกา ตามความเข้าใจเดิมเรามักคิดว่าวัฒนธรรมชาติตะวันตกถูกนำมาสู่ประเทศอาณานิคมโดยประเทศผู้ปกครองหรือเจ้าอาณานิคม แต่ปีเตอร์ แคปปี้นักวิชาการรุ่นใหม่ชาวเนเธอร์แลนด์ได้บอกถึงที่มาที่ไปของเรื่องดังกล่าวที่ต่างออกไป ในหนังสือ In Tales Of Southeast Asia's Jazz Age: Filipinos, Indonesians and Popular Culture, 1920-1936  เขาได้การศึกษายุคของแจ็สในฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์(หรือประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน) โดยเห็นว่า “ยุคของแจ๊ส”เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างดนตรีตะวันตกสมัยใหม่และการเต้นรำ/ดนตรีพื้นเมืองเพื่อสร้างรูปแบบทางวัฒนธรรมลูกผสมขึ้นมา งานของแคปปี้ถือว่าเป็นงานที่บุกเบิกเรื่องราวของ “ยุคแจ๊ส”ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังไม่ค่อยมีคนศึกษากัน

References

Keppy, Peter. (2019). In Tales Of Southeast Asia's Jazz Age: Filipinos, Indonesians and Popular Culture, 1920-1936. Singapore: National University of Singapore Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

สว่างโชติ ว. (2022). In Tales Of Southeast Asia’s Jazz Age: Filipinos, Indonesians and Popular Culture, 1920-1936. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 97–99. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1481

ฉบับ

บท

บทวิจารณ์หนังสือ