แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยว จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยว, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก 2) เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครนายก จำนวน 100 คน
ผลจากการศึกษาแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวจังหวัดนครนายกพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ส่วนตัว และชื่นชอบรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมากที่สุด สำหรับการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพการท่องเที่ยว พบว่า 1) ด้านข้อมูลทั่วไป จังหวัดนครนายกเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและมีกิจกรรมการท่องเที่ยว แต่ควรมีการส่งเสริมการจัดทำนโยบายการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเกิดการเดินทาง 2) ด้านการเดินทางและความปลอดภัย การเดินทางในจังหวัดนครนายกสามารถเดินทางได้ง่ายและสะดวก มีป้ายบอกทางที่ชัดเจนแลเข้าใจง่าย แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทางจังหวัดควรเพิ่มการดูแลการเดินทางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก จังหวัดนครนายกในหลายแห่งมีการจัดการเกี่ยวกับขยะที่ดี แต่ในบางพื้นที่ยังขาดการดูแลเรื่องการจัดการขยะ และควรมีการจัดการเรื่องสถานที่จอดรถภายในสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว 4) ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดนครนายกควรมีการส่งเสริมการโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ ใบปลิว หรือแผ่นพับก็ตาม ทั้งนี้หน่วยงานราชการควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครนายก
References
จารุภัทร ทองลงยา. (2563). ธุรกิจท่องเที่ยว ผลกระทบใหญ่ต่อเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://thestandard.co/tourism-business-large-impact-on-the-thai-economy/
เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2555). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณทิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. กรุงเทพฯ: ไอคอนพริ้นติ้ง.
ปิยาพัชร วัฒนแสงประเสริฐ. (2561). แนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรองกรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
แพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ์. (2559). กรอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษา เกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 23(1), 39-64.
ลักษณา เกยุราพันธ์, วรรณวีร์ บุญคุ้ม และนรินทร์ สังข์รักษา. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการVeridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 2190-2201.
ศรัญญา ศรีทอง, คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, อังสุมาลิน จำนงชอบ และกิ่งกนก เสาวภาวงศ์.(2561). ความต้องการการท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มครอบครัวในจังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 10(2), 145-160.
ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559).แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 9(1), 234-259.
สุรเจต ปัณณะวงศ์ และคณะ. (2561). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย, หน้า 1556-1566. ราชบุรี: ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
สำนักงานจังหวัดนครนายก. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดนครนายก 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) และแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2561 จังหวัดนครนายก. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.senate.go.th/assets/ portals/183/ fileups/331/files/สรุปแผนพัฒนาจังหวัด%20ปี%2061-64%20(1).pdf
สำนักงานจังหวัดนครนายก. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครนายก 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.nakhonnayok.go.th/home/upload/photo/web/ENxZ0hIP.pdf
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนมีนาคม 2563. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.mots.go.th/ download/article/article_20200428141351.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย ไตรมาส 1/2563. สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.mots.go.th/download/ TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf
เอกชัย ชำนินา. (2563). ความสามารถของภาครัฐกับการจัดการการท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19).วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 420-433.
Erdfelder, E., Faul, F., & Buchner, A. (1996). GPOWER: A general poweranalysis program. Behavior Research Methods, Instruments, & Computers, 28, 1–11.
Mastercard’s Global Destination Cities Index. (2019). Global Destination Cities Index. Retrieved on 7 September, 2020, from https://newsroom.mastercard.com/wp-content/uploads/2019/09/ GDCI-Global-Report-FINAL-1.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.