ความสามารถในการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดของประชาชน ในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การบริโภคสื่อ, สารสนเทศ, ความฉลาดทางดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถในการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดของประชาชน 2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดของประชาชน ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์สาระ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนมีความสามารถในด้านการประเมินสื่อและข่าวสารในเรื่องการพิจารณาความทันสมัยของสื่อและข่าวสาร ด้านการวิเคราะห์สื่อและข่าวสารที่สรุปได้ว่าสื่อประเภทใดที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเหมาะสม หรือสื่อประเภทใดที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้วทำให้เกิดผลเสีย และด้านการสังเคราะห์สื่อและข่าวสารในเรื่องการอ่านและจับประเด็นข้อมูลข่าวสาร เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารนั้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดของประชาชน ในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พบว่า ปัจจัยด้านเนื้อหาที่ได้รับส่งผลต่อความสามารถในการบริโภคสื่อและข่าวสาร คือ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดและความเชื่อที่จะประพฤติปฏิบัติตามคุณธรรมและจริยธรรมในมาตรฐานของความเป็นมนุษย์ สำหรับปัจจัยด้านการส่งเสริมของชุมชน/ศูนย์การเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสามารถในการบริโภคสื่อและข่าวสาร คือ มีการสร้างแรงจูงใจในการบริโภคสื่ออย่างต่อเนื่อง และในด้านบุคคลที่ส่งผลต่อความสามารถในการบริโภคสื่อและข่าวสาร คือ ครู อาจารย์ที่เข้าใจลูกศิษย์ ทำการสอนการใช้งานและส่งเสริมให้เกิดการบริโภคสื่อและข่าวสารในเชิงสร้างสรรค์
References
กฤษริน รักษาแก้ว. (2560). อิทธิพลของรายการในสื่อใหม่ที่มีต่อมุมมองต่อโลกของเด็กและเยาวชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 152-169.
เจริญ มะโน. (2556). พฤติกรรมการบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ณงลักษณ์ จารุวัฒน์, ประภัสสร วรรณสถิตย์, แปล. (2551). เปิดโลกนิวมีเดียและการตลาดดิจิทัล. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
ยุพา แสงทอง. (2551). พฤติกรรมการบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ปีการศึกษา 2550. ราชบุรี: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2559). ประวัติความเป็นมาของจังหวัดปทุมธานี. สืบค้น 20 มีนาคม 2561, จาก http://pathumthani.kapook.com/เมืองปทุมธานี
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). หัวใจสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อคืออะไร. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2560, จาก http://bcp.nbtc.goth/knowledge/detail/308
สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2524). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
สุจรรยา วงศ์สวัสดิ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เอกสารประกอบการสอน พฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญา. (ม.ป.ป.). สืบค้น 1 กันยายน 2560, จาก http://ilc2.swu.ac.th/Portals/127/Documents/ swu353/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.