การมีส่วนร่วมของชุมชนในการประชาสัมพันธ์ระบบแผนที่อัจฉริยะ ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สถานบริการสุขภาพ การแพทย์แผนไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อภิลักษณ์ เกษมผลกูล
  • สุชาดา ท้าวลอม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ประชาสัมพันธ์, แผนที่อัจฉริยะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการประชาสัมพันธ์ระบบแผนที่อัจฉริยะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสถานบริการสุขภาพ การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่องศึกษาความพึงพอใจต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการประชาสัมพันธ์ระบบแผนที่อัจฉริยะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สถานบริการสุขภาพ การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มชุมชนตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มประชาชนในท้องถิ่น ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบการด้านยาแผนโบราณ หมอแผนโบราณหรือแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน และกลุ่มพนักงานและเจ้าหน้าที่ในงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

            ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ระบบแผนที่อัจฉริยะฯ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและรวบรวมข้อมูล ชุมชนมีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในระดับมาก ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนและตัดสินใจในการดำเนินการประชาสัมพันธ์ระบบแผนที่อัจฉริยะฯ พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ขั้นตอนที่ 3 การติดต่อสื่อสารถึงประชาชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุม ดูแลระบบฐานข้อมูลของแผนที่อัจฉริยะฯ ชุมชนมีความพึงพอใจในระดับมาก ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล ชุมชนมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินความสำเร็จของกิจกรรม ข่าวสาร ของระบบแผนที่อัจฉริยะฯ ชุมชนมีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้ในระดับมาก

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2551). โครงการสำรวจระดับความรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายนโยบายวางแผน กองวางแผนการท่องเที่ยวฯ.

กิตติวิทย์ โตสกุล และคณะ. (2559). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์อย่างมีส่วนร่วมเรื่องศีลห้าของนักเรียนมัธยมตอนต้น: กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารนักวิจัย, 21(2), 158-170.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2553). การวิจัยปฎิบัติการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2545). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: อัลฟ่าพับลิชชิ่ง.

บุษบา หินเธาว์ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสื่อเพจเฟซบุ๊กเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนบ้านนาเมือง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 66-82.

วัฒนา พุทธางกูรานนท์. (2530). การประชาสัมพันธ์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอื้ออนุช ถนอมวงษ์ และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(1), 115-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

เกษมผลกูล อ., & ท้าวลอม ส. (2022). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการประชาสัมพันธ์ระบบแผนที่อัจฉริยะ ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ สถานบริการสุขภาพ การแพทย์แผนไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(2), 48–54. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1499