การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานของบุคลากร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • สิริเพ็ญ คตน่วม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การรณรงค์, การประหยัดพลังงานไฟฟ้า, การอนุรักษ์พลังงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานของบุคลากร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ และศึกษาแนวทางการรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากร คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ ประชากร คือ บุคลากรคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำนวน 100 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ด้านการใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง ด้านอื่นๆ ด้านการใช้เครื่องปรับอากาศ และด้านการใช้อุปกรณ์สำนักงาน เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานด้านการใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง คือ เปิดสวิตช์ไฟฟ้าในห้องเมื่อมีการใช้งานหรือมีการเรียนการสอนและปิดสวิตช์ไฟฟ้าทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งานหรือไม่มีการเรียนการสอน  ส่วนแนวทางในการรณรงค์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่การรณรงค์อนุรักษ์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า การประชาสัมพันธ์การรณรงค์ประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ของคณะ

References

กระทรวงพลังงาน. (2555). นโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล. สืบค้น 8 มีนาคม 2561, จาก http://energy.go.th/2015/government-energy-policy/

กระทรวงพลังงาน. (2560). สถานการณ์พลังงานปี 2560 และแนวโน้มปี 25561. สืบค้น 8 มีนาคม 2561, จาก http://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/public_relations/ forecast/Energy2016-Forcast2017.pdf

กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2560). จำนวนการใช้พลังงานไฟฟ้า ประจำปีงบประมาณ 2560. สืบค้น 8 มีนาคม 2561, จาก https://www.gad.rmutt.ac.th/

แจ่มนิดา คณานันท์. (2555). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในที่ทำงานของข้าราชการพลเรือนกระทรวงศึกษาธิการ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ชวลิต ฉัตรชัยอนันต์. (2552). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ธนกฤต วิชัยวงษ์. (2557). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรและนักศึกษา สังกัดคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(2), 44-49.

นิพนธ์ ทักษิณ. (2558). การวางแผนปฏิบัติการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. วารสารวิจัย มสด, 11(3), 65-81.

ประสงค์ เอี๊ยวเจริญ, เชาวฤทธิ์ สุขรักษ์, จินตนา คุ้มอยู่, พรทิพย์ ไตรพิทยากุล และชัยธวัช ตุ่มมะ. (2552). ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุคนธ์ มาศนุ้ย. (2551). พฤติกรรมการประหยัดพลังงานเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนของบุคลากรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุชิรา นวลกำแหง. (2558). รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารของบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น”, หน้า 308-313. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

คตน่วม ส. (2022). การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานของบุคลากร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 2(2), 63–71. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1501