พลังวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ในความเคลื่อนไหวในการจัดการความรู้ และสืบสานภูมิปัญญาจากท้องถิ่นสู่ภูมิภาค
คำสำคัญ:
การศึกษาบนฐานชุมชน, ความเคลื่อนไหวการจัดการความรู้ท้องถิ่น, ชุมชนปฏิบัติการบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นผลจากโครงการวิจัยเรื่อง “การจัดการความรู้และสืบสานภูมิปัญญาด้วยพลังวัฒนธรรมและชาติพันธุ์จากท้องถิ่นสู่อาเซียน” ที่ได้รับทุนสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นแนวทางของการเคลื่อนไหวในการทำงานด้านการจัดการความรู้เพื่อสืบสานภูมิปัญญาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา โดยอาศัยกลุ่มเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญาเป็นกรณีศึกษาที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และบริบทร่วมกับภูมิภาค โครงการมีจุดมุ่งหมาย ในการสร้างความร่วมมือแบบเครือข่ายในการทำงานอย่างกว้างขวางมากขึ้นระหว่างชุมชนสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ซึ่งเป็นผลของการปรับตัวจากแนวคิด “รากเหง้าดั้งเดิม” “วัฒนธรรมชุมชน” “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” และ “การจัดการศึกษาบนฐานชุมชน” เข้ามาใช้ร่วมกันและบูรณาการเป็นชุดมโนทัศน์ “รากเหง้าวัฒนธรรม-สืบสานภูมิปัญญา-การศึกษาบนฐานชุมชน” ในความเคลื่อนไหวการจัดการความรู้และสืบสานภูมิปัญญา โดยมีทิศทางไปสู่จุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ของความเคลื่อนไหวทางสังคมในโลกปัจจุบัน คือ เพื่อการธำรงความเป็นชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์วัฒนธรรมให้เด่นชัดขึ้น และเพื่อความเข้าใจพหุวัฒนธรรมในชุมชนและท้องถิ่นสำหรับการดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงโดยวิถีของชุมชนปฏิบัติการ
References
คิด แก้วคำชาติ. (2557). ห้องเรียนวิถีไทบ้าน. ใน ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ และคณะ (บ.ก.), บ้านผับแล้ง-นาเจริญ ห้องเรียนวิถี
ไทบ้าน (หน้า 25-46). กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนารูปแบบสถาบันการจัดการเรียนรู้ด้านเด็กเยาวชนบนฐานชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนสุขภาพ (สสส.).
เครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา. (2558). แนวคิดการศึกษาบนฐานชุมชน, เวทีการศึกษาบนฐานชุมชน ตอนคนมีราก.
[แผ่นพับ]. เชียงใหม่: โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2534). วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และเรณู วิชาศิลป์. (2538). องค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทอาหม. ใน บุญพา มิลินทสูต, จารุวรรณ พรมวัง-
ขำเพชร (บ.ก.), การศึกษาวัฒนธรรมชนชาติไท (หน้า 51-80). สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2542). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
นิติ ภวัครพันธุ์. (2558). ชวนถกชาติและชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2547). 30 ชาติในเชียงราย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
ประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค), พระยา. (2478). พงศาวดารโยนก. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ
มหาอำมาตย์โท เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (ปลื้ม สุจริตกุล). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
พิเชฐ สายพันธ์. (2561). การศึกษาคนไทในรัฐอัสสัม อินเดีย: จากแนวคิด “รากเหง้าดั้งเดิม” สู่ “ชาตินิยมเชิงเชื้อชาติ” และ
“การณ์กำหนดทางชาติพันธุ์”. วารสารมานุษยวิทยา, 1(1), 83-117.
ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2548). อ่าน ‘วัฒนธรรมชุมชน’: วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์นิพนธ์แนวคิดวัฒนธรรมชุมชน.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
วิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนพันธ์), ขุน. (2506). หลักไทย. พระนคร: โอเดียนสโตร์.
วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. (2549). งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2557). 10 ปัญญาชนสยาม เล่ม 1 ปัญญาชนแห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์. กรุงเทพฯ: โอเพ่น โซไซตี้.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2546). “บทนำ”. ใน ชูพินิจ เกษมณี (บ.ก.), ชาติพันธุ์และมายาคติ (หน้า 5-16). กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2552). ความเข้าใจ “วัฒนธรรม” ในงานวิจัยสังคมไทย มานุษยวิทยาปะทะวัฒนธรรมศึกษา:
ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
อนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ), พระยา. (2505). ไทย-จีน. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
อนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ), พระยา. (2511). เรื่องของชาติไทย. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา. (2555). หลักสูตรวิชาภูมิปัญญาล้านนา. เชียงใหม่: นานาการพิมพ์.
Geertz, Clifford. (1963). “Primordial ties”. In John Hutchison and Anthony D. Smith (Eds.), Ethnicity
(pp. 40-45). Oxford – New York: Oxford University Press.
Shils, Edward. (1957). Primordial, personal, sacred and civil ties. British Journal of Sociology, 8(2),
-145.
Smith, Anthony D. (1998). Nationalism and Modernism: A critical survey of recent theories of
nations and nationalism. London and New York: Routledge.
Van den Berghe, Pierre L. (1978). Race and ethnicity: a sociological perspective. Ethnic and Relation
Studies, 1(4), 401-411.
Van den Berghe, Pierre L. (1988). Ethnicity and the sociology debate. In John Rex and David Mason (Eds.),
Theories of Ethnic and Race Relations (pp. 246-263). Cambridge: Cambridge University Press.
Wenger, Etienne. (2000). Communities of Practice: Learning, Meaning, and Identity. Cambridge:
Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.