การศึกษาความคาดหวังและการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาอัตลักษณ์แห่งราชมงคลธัญบุรีของอาจารย์ ตามทรรศนะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ พิเภก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สายฝน บูชา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน , วิชาอัตลักษณ์แห่งราชมงคลธัญบุรี , ความคาดหวัง , การปฏิบัติจริง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังและการปฏิบัติจริง ในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ รายวิชาอัตลักษณ์แห่งราชมงคลธัญบุรี ของอาจารย์ ตามทรรศนะของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  2) เปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอน  รายวิชาอัตลักษณ์แห่งราชมงคลธัญบุรี  มุ่งศึกษาในด้านคุณลักษณะของอาจารย์ ด้านเทคนิคการสอน ด้านเนื้อหาวิชา  ด้านกิจกรรมการสอน ด้านการใช้นวัตกรรมและสื่อการสอน  และด้านการประเมินผลผู้เรียน งานวิจัยนี้ศึกษาจาก “ประชากร” ทั้งหมดของผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานี้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบที (Dependent Sample: T-test)  

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังในการจัดการเรียนการสอน ในทรรศนะของนักศึกษาทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านเนื้อหาวิชา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) การปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอน  ในทรรศนะของนักศึกษาทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านเนื้อหาวิชา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) เปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมพบว่า ระดับการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าความคาดหวังของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน

References

โกศล รอดมา และจตุรงค์ เหมรา. (2556). ความคาดหวังและสภาพการปฏิบัติจริงตามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในสถาบันการพลศึกษาภาคเหนือ. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 7(2), 47-59. สืบค้น 8 มีนาคม 2565, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ksk/article/view/128120/96394

คู่มือการเรียนการสอนรายวิชา 00100101 อัตลักษณ์แห่งราชมงคลธัญบุรี. (2564). ปทุมธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เบญจรัตน์ ราชฉวาง. (2562). ความคาดหวังและความเป็นจริงในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 187-192.

พรรณพนัช จันหา, สมเกียรติ ไทยปรีชา, กิตติพจน์ เพิ่มพูน และศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2563). ความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่มีต่อหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(1), 85-105.

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2560). ประเทศไทย 4.0. สืบค้น 23 เมษายน 2565, จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/blueprint-thailand-4/

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2565). กลุ่มเรียนและนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 00100101-62 RMUTT Identity อัตลักษณ์แห่งราชมงคลธัญบุรี. สืบค้น 21 มกราคม 2565, จาก https://oreg3.rmutt.ac.th/registrar/class_info_2_SB.asp?backto=home&option =0&courseid =100000002613&acadyear=2564&section=15&semester=2&avs619525739=187

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23

How to Cite

พิเภก น., & บูชา ส. (2022). การศึกษาความคาดหวังและการปฏิบัติจริงในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาอัตลักษณ์แห่งราชมงคลธัญบุรีของอาจารย์ ตามทรรศนะของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 3(2), 71–87. สืบค้น จาก https://so07.tci-thaijo.org/index.php/JLA/article/view/1657